การเขียนเนื้อหา
1. ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ด้วย / เนื่องจาก”/ เนื่องด้วย”
2. ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ตาม / ตามที่ / อนุสนธิ”ขึ้น…..แล้วลงด้วย นั้น ถ้าเป็นหนังสือภายใน อ้างถึง จะอยู่ในเนื้อความส่วนแรก ส่วนสุดท้าย จะต้องตรงกับเรื่อง เช่น
ขออนุญาต หรืออนุมัติ | จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติด้วยจะขอบคุณยิ่ง |
เชิญเป็นวิทยากร | จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณารับเชิญด้วยจะขอบคุณยิ่ง |
ขอความอนุเคราะห์ | จึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความอนุเคราะห์ด้วยจะขอบคุณยิ่ง |
ยืนยันให้ดำเนินการ | จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการต่อไปจะขอบคุณยิ่งจึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป |
การใช้ภาษาในการเขียน
1. ต้องสะกดคำให้ถูกต้อง ใช้พจนานุกรม / พจนานุกรมในคอมฯ
2. การใช้คำเชื่อม เช่น ที่ / ซึ่ง / อัน / แต่ / หรือ / เพราะ /ฉะนั้น จึง ไม่ใช้มากเกินไป หรือซ้ำๆ ในที่ใกล้ๆ กัน
3. การใช้คำสรรพนาม ไม่ใช้ข้าพเจ้า/ใช้หน่วยงานไม่ใช้บุคคล เช่น มหาวิทยาลัย / กระทรวง /ไม่ใช้ท่านรือหน่วยงานของท่าน
4. การใช้คำบุพบท เช่น แก่ แด่ เช่น ส่งเอกสารให้กับมหาวิทยาลัยควรใช้ให้แก่มหาวิทยาลัย /ถวายแด่ / อุทิศแด่ เช่น ใช้ยกตัวอย่างคำต่างๆ ที่มีความสำคัญใกล้เคียงกัน ลงท้าย ฯลฯ
ได้แก่ | ต้องยกทั้งหมด |
อาทิ | ยกมาเฉพาะที่สำคัญ หรือลำดับต้นๆ ไม่ต้องใช้ ฯลฯ เพราะที่สำคัญมีเพียงเท่านั้น |
จะ | ใช้ทั่วไป |
จัก | (ต้อง) มักใช้ในคำสั่ง / คำกำชับ |
ใคร่ | (อยาก / ต้องการ) เช่น ใคร่ขอเชิญท่านไปบรรยาย… ซึ่งไม่แน่ว่าจะเชิญหรือไม่ |
ตัดออกก็ได้ คำว่าไป – มา เป็นสำคัญ เช่น จึงขอเชิญท่านไปเป็นผู้บรรยายวิชา… / (ผู้รับหนังสือจะคิดว่าตนเองจะต้องเดินทางไปบรรยาย) หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ขอส่งอาจารย์สมชาย รักงานมาร่วมประชุม (คือผู้รับหนังสือซึ่งเป็นผู้จัดประชุมจะคิดว่าจะต้องมีผู้มาร่วมประชุม) การใช้ไปยาลน้อย (ฯ) ใช้กับสิ่งเดียวกันที่เขียนไม่จบ เช่น พระนาม นามสกุล ชื่อเฉพาะของหน่วยงานที่ยาวๆ อิศรางกูรฯ / สมเด็จพระเทพรัตน์ ฯ
กระทรวงการคลัง =กระทรวง + การคลัง (เมื่อกล่าวชื่อเต็มไปแล้ว ครั้งต่อไปใช้คำนามแรกแทนชื่อเต็มได้
5. ใช้ประโยคสั้นคำเชื่อมจะมาก ใช้ประโยคยาวดีกว่า
ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยซ้ำซากทำได้ไหม – ขอหารือว่าสมควรปฏิบัติประการใด
6. การเว้นวรรค วรรคเล็กใช้ 2 เคาะ / วรรคใหญ่ใช้ 3 – 4 เคาะ
7. การตัดคำ เมื่อสิ้นสุดบรรทัด ต้องใช่ – (ยัติภังค์) ตัดแล้วความหมายเปลี่ยนก็ไม่ควรตัด
เช่น แม่ – น้ำ / ราช – การ (คำที่ออกเสียงเชื่อมกันจะตัดคำไม่ได้) กระ – ทรวง / บัญ – ชี ใช้กั้นหน้ากั้นหลัง ไม่จำเป็นเหลือ 1 นิ้ว หรือ2 นิ้ว ก็ได้
ผู้ใด | ใคร | ที่ใด | ที่ไหน |
แบบใด | แบบไหน | สิ่งใด, อันใด |
อะไร |
ได้หรือไม่ | ได้ไหม | เช่นใด/ประการใด | อย่างไร |
เพราะอะไร | ทำไม | ขณะนี้ | เดี๋ยวนี้ |
ต้องการ | ประสงค์ | ช่วย | อนุเคราะห์ |
ในการนี้ | ในเรื่องนี้ | มิได้ / หามิได้ | ไม่ได้ |
มิชอบ | ไม่ดี | เช่นเดียวกัน | เหมือนกัน |
ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใดยังไม่ได้ทำเลย | ยังไม่ได้ทำเลย | แล้วเสร็จ / เรียบร้อยแล้ว | เสร็จแล้ว |
อนุเคราะห์ | เอื้อเฟื้อ / ช่วยเหลือ / ขอร้องขอความร่วมมือ | อนุญาต | ยินยอม / ยอมให้ตกลง ใช้ในกรณีที่กฎ / ข้อบังคับชัดเจนอยู่แล้ว เช่นอนุญาตการลา / มารยาท |
อนุมัติ | เห็นชอบตามระเบียบที่กำหนดไว้ ใช้ในกรณีที่ขอความเห็นชอบในเรื่องใหม่ หรือเรื่องที่สงสัยไม่แน่ใจว่าจะปฏิบัติถูกต้องหรือไม่เช่น ขออนุมัติการใช้เงินงบประมาณ ฯลฯ | ได้รับเชิญ | ถูกเชิญ |
ส่วนลงท้ายหนังสือ
เรื่อง | คำลงท้าย |
1. ขออนุญาต/ขออนุมัติ | 1. จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา- จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติด้วย จะขอบคุณยิ่ง |
2. ขอความร่วมมือ/ขอความอนุเคราะห์ | 2. จึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความอนุเคราะห์มหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดีจึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย |
3. ซักซ้อมความเข้าใจ/ยืนยัน/ให้ดำเนินการ | 3. จึงเรียนยืนยันมาเพื่อโปรดเข้าใจให้ตรงกัน- จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป |
– จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการต่อไปจะขอบคุณยิ่ง4. ส่งข้อมูล4. จึงเรียนมาเพื่อทราบ
17 พฤษภาคม 2550
กองกลาง สำนักงานอธิการบดี