-
ผลผลิตการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้
แผนภาพที่ 10 เปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมผลผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้
จากแผนภาพที่ 10 เปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยมีหน่วยงานย่อยดำเนินการ 12 แห่ง จำนวน 43 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 6,197,480.71 บาท จำแนกเป็นต้นทุนโครงการ จำนวน 3,213,433.00 บาทคิดเป็นร้อยละ 51.85 และงบบุคลากร จำนวน 2,984,047.71 บาทคิดเป็นร้อยละ 48.15 ดังแผนภาพที่ 10 แสดงให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาต้นทุนกิจกรรมวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ตามคณะพบว่า คณะบริหารธุรกิจมีต้นทุนในการจัดกิจกรรมวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้สูงสุด1,179,563.72 บาท โดยมีการทำวิจัยจำนวน 9 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 19.03 ของต้นทุนกิจกรรมงานวิจัยสร้างองค์ความรู้ทั้งหมดของมหาวิทยาลัย (แผนภาพที่ 11)
แผนภาพที่ 11 เปรียบเทียบร้อยละต้นทุนของคณะในการดำเนินงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้
จำแนกเป็นต้นทุนโครงการ 615,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.14 และต้นทุนบุคลากร 564,563.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 47.86 สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมีโครงการวิจัย 1 โครงการ นับเป็นหน่วยงานที่มีต้นทุนการจัดกิจกรรมวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีต้นทุนต่อโครงการต่ำสุด 47,500 บาท (แผนภาพที่12) คณะศิลปศาสตร์ มีจำนวนโครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ 4 โครงการเป็นเงิน 990,472.25 บาทเป็นคณะที่มีต้นทุนกิจกรรมต่อโครงการสูงที่สุดคือ 247,618.06 บาท จำแนกเป็นต้นทุนโครงการ 478,500.00บาท คิดเป็นร้อยละ 48.31 และต้นทุนบุคลากร 511,972.25 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.31
แผนภาพที่ 12 เปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมผลผลิตงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ของหน่วยงานย่อย
- ผลผลิตงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี
จากแผนภาพที่ 13 เปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย มีหน่วยงานย่อยที่ดำเนินการวิจัยจำนวน 10 แห่ง จำนวน 13 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 7,368,064.81 บาทจำแนกเป็นต้นทุนโครงการ จำนวน 5,565,900.00 บาทคิดเป็นร้อยละ 75.54 และต้นทุนบุคลากร จำนวน1,802,164.81 บาทคิดเป็นร้อยละ 24.46 (แผนภาพที่ 13)
แผนภาพที่ 13 เปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมผลผลิตงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
แผนภาพที่ 14 เปรียบเทียบร้อยละต้นทุนของคณะในการดำเนินงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
เมื่อพิจารณาต้นทุนกิจกรรมวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีตามคณะ (แผนภาพที่ 14) พบว่า คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มีต้นทุนในการจัดกิจกรรมวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสูงสุด เป็นเงิน1,946,866.06 บาท คิดเป็นร้อยละ 26.42 ของต้นทุนกิจกรรมงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งหมดของมหาวิทยาลัย โดยจำแนกเป็นต้นทุนโครงการ 1,552,000.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 79.72 และต้นทุนบุคลากร 394,866.06 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.28 คณะทำการวิจัยจำนวน 3 โครงการ ทำให้มีต้นทุนเฉลี่ยต่อโครงการเป็นเงิน 648,955.35 บาท (แผนภาพที่ 15) คณะวิศวกรรมศาสตร์มีจำนวนโครงการวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 1 โครงการซึ่งเป็นคณะที่มีต้นทุนกิจกรรมต่อโครงการสูงที่สุดเป็นเงิน 1,132,463.87 บาท จำแนกเป็นต้นทุนโครงการ 800,000.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 70.64 และต้นทุนบุคลากร 332,463.87 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.36
แผนภาพที่ 15 เปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมผลผลิตงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีของหน่วยงานย่อย
- เปรียบเทียบร้อยละของต้นทุนผลผลิตต่อหน่วย รอบ 6 เดือน ปีงบประมาณ 2551 – 2552
แผนภาพที่ 16 วิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราการเพิ่ม/ลด ต้นทุนผลผลิต ปีงบประมาณ 2551 – 2552 รอบ 6 เดือน
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุน ปีงบประมาณ 2551 และปีงบประมาณ 2552 รอบ 6เดือน พบว่าเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น ผลผลิตจะเพิ่มตาม มีเพียงต้นทุนผลผลิตกิจกรรมงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ในปีงบประมาณ 2552 ต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 แต่ผลผลิตจำนวนโครงการวิจัยกลับลดลงถึงร้อยละ 34.9 และการจัดการศึกษาด้านสังคม พบว่าต้นทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48.9 แต่ผลผลิตกลับลดลงร้อยละ 2.8 ส่วนการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์พบว่าต้นทุนการจัดการศึกษาลดลงร้อยละ 12.6 ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมหาวิทยาลัยควรพิจารณาลดต้นทุนการจัดการศึกษาสายสังคมหรือเพิ่มจำนวนผลผลิตสายสังคมให้มากขึ้น รวมถึงการเพิ่มการดำเนินงานโครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้มากขึ้นหรือพยายามลดต้นทุนการดำเนินงานโครงการวิจัยลงในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ดีข้อมูลข้างต้นอาจมีการคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากอยู่ในช่วงกลางปีงบประมาณ การดำเนินงานบางโครงการยังไม่แล้วเสร็จจึงทำให้จำนวนผลผลิตต่ำกว่าที่ควร โดยเฉพาะผลผลิตกิจกรรมงานวิจัย
ในปีงบประมาณ 2552 มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้หน่วยงานหลักนำผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตรอบ 6 เดือนแรก มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในปีงบประมาณ 2552
——————————————————————————————–