รายงานวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนปีงบประมาณ 2552 รอบ 6 เดือน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมที่เหมือนกันระหว่างหน่วยงานย่อย

จากการคำนวณต้นทุนผลผลิตต่อหน่วย ปีงบประมาณ 2552 รอบ 6 เดือน

แผนภาพที่ 1 เปรียบเทียบต้นทุนผลผลิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ในปีงบประมาณ 2552 รอบ 6 เดือน มหาวิทยาลัยมีผลผลิตตามที่ได้รับงบประมาณจำนวน 7 ผลผลิตประกอบด้วย (1) ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2) ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคม (3) ผลผลิตทุนพัฒนาอาจารย์ (4) ผลผลิตผลงานการให้บริการวิชาการ (5)ผลผลิตส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (6) ผลผลิตงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี (7) ผลผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้

แผนภาพที่ 2 เปรียบเทียบต้นทุนผลผลิตด้านวิทยาศาสตร์ฯ และสังคม

มหาวิทยาลัยได้ทำการคำนวณต้นทุนจำแนกตามผลผลิตหลัก 7 ผลผลิตและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ฯ มีต้นทุนรวมสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 57 ของต้นทุนทั้งหมด โดยมีต้นทุนผลผลิตทุนพัฒนาอาจารย์น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 9 ดังแผนภาพที่ 1

เมื่อพิจารณาเป็นรายผลผลิต พบว่าการจัดการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ และสายสังคมปีงบประมาณ 2552 รอบ 6 เดือน มีต้นทุนในการจัดการศึกษาทั้งสิ้น 196,175,344.10 บาท โดยผลผลิตสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดสอนใน 7 คณะ ประกอบด้วยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีต้นทุนรวม 140,405,063.94 บาทหรือคิดเป็นร้อยละ 72 ของต้นทุนผลผลิตการจัดการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนมากที่สุด 1,861 มีต้นทุนผลผลิตนักศึกษา52,234,755.18 บาทคิดเป็นต้นทุนต่อหน่วย 28,060.57 บาท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นคณะที่มีต้นทุนต่อหน่วยสูงที่สุดคือ 47,810.39 บาท และมีจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนน้อยที่สุด 159.83มีต้นทุนรวม 7,641,534.46 บาท

แผนภาพที่ 3 เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตการจัดการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ฯ และสายสังคม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุดคือ 18,968.39 บาท มีจำนวนนักศึกษาลงทะเบียน 332.5 มีต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนต่ำสุด 6,306,988.70 บาท ผลผลิตสายสังคม เปิดสอน 2 คณะ คือคณะบริหารธุรกิจและคณะศิลปศาสตร์มีต้นทุนรวมในการจัดการจัดการศึกษา55,770,280.16 คณะบริหารธุรกิจมีจำนวนนักศึกษาลงทะเบียน 2,601.74 มีต้นทุนรวม 43,838,053.77บาท ทำให้มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด 16,849.51 บาท

แผนภาพที่ 3.1 เปรียบเทียบต้นทุนผลผลิตกิจกรรมของมหาวิทยาลัย (ไม่รวมกิจกรรมการจัดการศึกษา)

จากแผนภาพที่ 3.1 เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมหลักของมหาวิทยาลัย (ไม่รวมกิจกรรมการจัดการศึกษา) จะพบว่ากิจกรรมการให้ทุนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยามีต้นทุนสูงสุด เป็นเงิน14,817,828.27 บาท กิจกรรมการให้บริการวิชาการมีต้นทุน 8,666,305.95 บาท มีต้นทุนบุคลากรร้อยละ71.45 และต้นทุนโครงการร้อยละ 28.55 กิจกรรมการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีมีต้นทุน 7,368,064.81บาท มีต้นทุนบุคลากรร้อยละ 24.46 และต้นทุนโครงการร้อยละ 75.54 กิจกรรมการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้มีต้นทุน 6,197,480.71 บาท มีต้นทุนบุคลากรร้อยละ 48.15 และต้นทุนโครงการร้อยละ 51.85กิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีต้นทุน 4,595,218.25 บาท มีต้นทุนบุคลากรร้อยละ80.62 และต้นทุนโครงการร้อยละ 19.74 เป็นกิจกรรมที่มีต้นทุนบุคลากรสูงสุด

Scroll to Top