สถาบันเทคโนโลยีนาโกย่า เกิดจากการรวมตัวกันของโรงเรียนอาชีวศึกษา 4 แห่งก่อตั้งขึ้นเป็นสถาบันฯในปีพ.ศ. 2492 จัดการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก โดยระดับปริญญาตรีเปิดสอน 10 แผนก คือ (1) แผนกวิศวกรรมสิ่งมีชีวิตและสสาร (2) แผนกวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและวัตถุ (3) แผนกวิศวกรรมเครื่องกล (4) แผนกวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (5) แผนกวิทยาการคอมพิวเตอร์ (6) แผนกสถาปัตยกรรมและการออกแบบ (7) แผนกวิศวกรรมโยธาและการจัดการระบบ (8)แผนกวิศวกรรมวัสดุศาสตร์ (9) แผนกวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (10) แผนกโยธาและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ปริญญาโทและปริญญาเอกเปิดสอน 8 แผนก คือ (1) แผนกวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม(2) แผนกฟิสิกส์วิศวกรรม, อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกล (3) แผนกวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม (4)แผนกสถาปัตยกรรม, วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม (5) แผนกการบริหารธุรกิจเทคโนโลยี (6) แผนกวัตถุแห่งอนาคต (Frontier Materials) (7) แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมการจำลองแบบ (8) แผนกเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการวางแผนเมือง
ในระดับปริญญาตรีแผนกที่มีนักศึกษามากที่สุดคือแผนกวิศวกรรมเครื่องกล ส่วนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกแผนกวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมมีนักศึกษาเรียนมากที่สุด
สถาบันเทคโนโลยีนาโกย่า มีบุคลากรทั้งสิ้น 556 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 6 คน ศาสตราจารย์ 148 คนรองศาสตราจารย์ 144 คน ผู้ช่วยศาสตาจารย์ 73 คน และเจ้าหน้าที่ 185 คน
แผนภาพร้อยละของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนาโกย่า
ในปี 2551 มีนักศึกษาทั้งสิ้น 6,843 คน จำแนกเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 4,718 คน ระดับปริญญาโท จำนวน 1,278 คน และระดับปริญญาเอก จำนวน 219 คน
แผนภาพร้อยละของจำนวนนักศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา
สัดส่วนระหว่างอาจารย์ต่อนักศึกษา คิดเป็น 1 : 19 คน
- หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมยานยนต์สถาบันเทคโนโลยีนาโกย่า เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิศวกรรมยานยนต์ สำหรับนักศึกษาชาวเอเชียในปี 2008 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ โปรแกรมการพัฒนาวิชาชีพให้แก่นักศึกษาต่างชาติชาวเอเชีย ” จัดขึ้นและให้การสนับสนุนโดยกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นโปรแกรมการเรียนประกอบด้วย การเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นเข้มข้น 6 เดือน การเรียนหลักสูตรปริญญาโทวิศวกรรมยานยนต์ 2 ปี การเรียนวิชาธุรกิจญี่ปุ่น และนักศึกษาต้องฝึกงานกับบริษัทเอกชน ในหลักสูตรดังกล่าวมีบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นให้การสนับสนุนมากกว่า 30 บริษัท นักศึกษาต่างชาติที่เรียนจะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากรัฐบาลญี่ปุ่นเต็มจำนวน และเมื่อจบการศึกษาแล้วจะได้รับการจ้างงานจากบริษัทยานยนต์ของญี่ปุ่น
- โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ สถาบันฯ มีความตกลงแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับนานาชาติทั้งสิ้น 24 ประเทศ สำหรับความร่วมมือกับประเทศไทยได้ทำความตกลงกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีไทย-นิชิ ใน 4 ด้าน คือ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาแลกเปลี่ยนอาจารย์ ความร่วมมือในโครงการวิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมกัน
- การประกันคุณภาพการศึกษาและวิจัยในปี 1991 สถาบันเทคโนโลยีนาโกย่าเริ่มมีการนำระบบการประเมินตนเองมาใช้โดยประเมินตามกิจกรรมการศึกษาและการวิจัย ซึ่งการประเมินตนเองนี้จะใช้เป็นเครื่องช่วยตรวจสอบการทำงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นเลิศ หรือสิ่งจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนา พร้อมกับนำผลการประเมินมาปรับปรุงการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย สถาบันฯจะต้องพัฒนาคุณภาพ และจัดทำรายงาน ผลการประเมินเผยแพร่ต่อสาธารณะชน การประเมินตนเองเป็นข้อบังคับตามกฎหมายการศึกษาซึ่งการประเมินตนเองนี้จะไม่มีมาตรฐานตายตัว แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีวิธีการประเมินตามกิจกรรมของตนเอง สถาบันการศึกษาจะต้องมีกิจกรรมการศึกษาที่ชัดเจนภายใต้ภารกิจหลัก การประเมินตนเองถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่จะต้องดำเนินการให้เกิดผลอย่างแท้จริงในปี 2004 สถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องทำการประเมินเพื่อขอรับการรับรองวิทยฐานะ ซึ่งเป็นแผนการประเมินใหม่ในระดับประเทศ และนำไปใช้ในอนาคตเพื่อการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในการนี้รัฐบาลได้มอบอำนาจให้หน่วยงานดังมีรายนามด้านล่างเป็นผู้ตรวจประเมินและให้การรับรองวิทยฐานะตามเงื่อนไขของการศึกษาและการวิจัยที่กำหนดขึ้น รายชื่อหน่วยงานที่ให้การรับรองวิทยฐานะ เช่น
1.The National Institution for Academic Degrees and University Evaluation (NIAD-UE)
2.The Japan University Accreditation Association (JUAA)
3.Japan Institution for Higher Education Evaluation (JIHEE)
วงรอบของการตรวจประเมิน
ตั้งแต่ปี 2004 สถาบันเทคโนโลยีนาโกย่าได้เปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลที่จะต้องผ่านการรับรองการประเมินผลและวิทยฐานะอย่างน้อย 1 ครั้งใน 7 ปี โดยที่ MEXT ได้กำหนดเป้าหมายระยะกลาง (6 ปี) สำหรับการประเมินมหาวิทยาลัย ซึ่งในช่วงสิ้นสุดแผนระยะกลางสถาบันการศึกษาทุกแห่งที่เกี่ยวข้องจะต้องทำการประเมินผลเพื่อให้เกิดความมั่นใจในความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ที่มีต่อสังคม และจะต้องจัดทำรายงานเสนอต่อ MEXT ผลของการประเมินจะนำมาเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลให้กับสถาบันฯในปีถัดไป สถาบันฯ ต้องให้ความร่วมมือในการประเมินตามวงจร PDCA ทุกปี กิจกรรมการประเมินการศึกษาและวิจัยในช่วงแผนระยะกลาง จะเป็นดังภาพด้านล่าง
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
- เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพการศึกษาและการวิจัยโดยทำการประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- เพื่อจัดทำรายงานประเมินผลที่มีคุณภาพของสถาบันฯ และนำผลไปปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาและวิจัย
- เพื่อช่วยเหลือสถาบันฯ ในการเติมเต็มความรับผิดชอบในหน้าที่ในฐานะที่เป็นหน่วยงานสาธารณะ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการจัดการศึกษาและวิจัย
ห้องสมุด สถาบันเทคโนโลยีนาโกย่า
อาคารห้องสมุด
ผู้ใช้ต้องเสียบบัตร ID card เพื่อผ่านเข้าใช้ห้องสมุด
ชั้นวางวารสาร
ชั้นวางหนังสือ ออกแบบโดยนักศึกษาของสถาบันฯ
บรรยากาศภายในห้องสมุด
เก้าอี้นั่งพักผ่อนและมุมอ่านหนังสือวารสารในห้องสมุด