PM กับกระบวนการสร้างคุณค่า (ต่อ)

ข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการสร้างคุณค่า

กระบวนงานวิทยบริการ กระบวนงานย่อยระบบบริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีวิธีการดำเนินงานโดยคณะทำงานได้รับมอบหมายนำข้อมูลความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาพิจารณาจัดทำเป็นข้อกำหนดสำคัญคือ

  • ความสะดวกของผู้รับบริการใช้งานห้องศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ความรวดเร็วในการให้บริการ
  • ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
  • ลดภาระงานในการให้บริการ
  • ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลสถิติการใช้บริการ
  • นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ประมวลผลข้อมูลผู้ใช้บริการได้รวดเร็ว ถูกต้อง เชื่อถือได้
  • มีการนำฐานข้อมูลนักศึกษา/บุคลากร/เครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
  • มีระบบสำรวจความพึงพอใจแบบออนไลน์
การออกแบบกระบวนการสร้างคุณค่า ระบบบริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้บริการการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นอัตโนมัติ
  • เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ รวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • เพื่อจัดทำสถิติการใช้งานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ สามารถประมวลผลการใช้งานแบบเรียลไทม์ออนไลน์
  • เพื่อลดกระดาษ และประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้เครื่อง
  • เพื่อลดเวลาในการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำรายงาน
  • เพื่อลดกำลังคนในการให้บริการ
  • เพื่อให้ข้อมูลสถิติการใช้มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ทันสมัย
  • เพื่อรายงานข้อมูลใช้งานแบบเรียลไทม์ออนไลน์
  • เพื่อประมวลผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแบบออนไลน์
  • เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ทุกเมื่อโดยผู้ที่มีสิทธิเท่านั้น

ขอบเขต

  • ให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
  • จัดทำสถิติผู้รับบริการเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแบบเรียลไทม์ออนไลน์

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ด้านการให้บริการด้วยระบบอัตโนมัติ

  • ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานทำให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกรวดเร็ว
  • ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาข้อมูลผู้ใช้งานระบบ
  • ลดภาระงานการบริการให้ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองทำงานหลายอย่างได้พร้อมกัน
  • การสร้างหรือเก็บข้อมูลสามารถทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการทำงานในรูปแบบปกติ
  • การเก็บข้อมูลในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ลดต้นทุนทางธุรกิจในการสร้างหรือเก็บข้อมูล
  • ข้อมูลปลอดภัยมากขึ้น มีระบบสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันกรณีข้อมูลสูญหายหรือถูกทำลาย

2. ด้านการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงระบบให้เฉพาะบุคคลที่มีสิทธิเท่านั้น

  • ระบบบริการมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เข้าถึงข้อมูลเฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์ และได้รับอนุญาตเท่านั้น
  • ระบบมีความน่าเชื่อถือ ทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง สามารถตรวจสอบได้
  • สามารถตรวจสอบประวัติการใช้งานของเครื่องและผู้ใช้งานได้ทันท่วงที
  • สามารถตรวจสอบสถานการณ์ใช้งานของเครื่องที่ให้บริการได้

3. การจัดทำรายงานและสถิติแบบเรียลไทม์ออนไลน์

  • สามารถรายงานสถานะการใช้งานระบบได้ทันที
  • จัดทำรายงานได้รวดเร็ว ทันต่อการใช้งาน ครบถ้วน ถูกต้อง
  • ลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำรายงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน

วิเคราะห์ปัญหาที่พบในระบบงานเดิม

  • เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองต้องอยู่ประจำห้องและคอยตรวจสอบสิทธิผู้ขอใช้เครื่องตลอดเวลาทำให้เสียเวลา และสิ้นเปลืองบุคลากรมาก
  • เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ต้องเสียเวลาในการเก็บรวบรวมรายชื่อผู้ใช้งานและจัดทำสถิติการใช้งานในภาพรวมของมหาวิทยาลัยด้วยมือทำให้เกิดความผิดพลาด ล่าช้า
  • สิ้นเปลืองกระดาษและเวลาในการจดรายชื่อผู้ขอใช้งานเครื่องตลอดเวลา
  • สิ้นเปลืองกระดาษในการทำแบบสอบถามและเสียเวลาในการคำนวณผลและรายงานผลการประเมินความพึงพอใจด้วยมือ

ขั้นตอนการปฏิบัติงานเดิม

1.ผู้ใช้แจ้งความจำนงขอใช้ห้องที่เจ้าหน้าที่

2.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิผู้ใช้

  • ตรวจการแต่งกายนักศึกษาให้แต่งกายให้ถูกระเบียบ
  • ตรวจสอบสิทธิผู้ขอใช้

3.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความต้องการของผู้ใช้

  • ต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
  • ต้องการใช้ห้องสื่อการเรียนรู้

4.ผู้ใช้ลงทะเบียนการใช้งาน

  • ผู้ใช้ลงชื่อในแบบฟอร์มการใช้
  • ผู้ใช้แลกบัตรนักศึกษา กับบัตรหมายเลขเครื่อง  หมายเลขอุปกรณ์  หมายเลขห้องสื่อการเรียนรู้ที่ขอใช้กับเจ้าหน้าที่

5.เจ้าหน้าที่ควบคุม/ตรวจสอบเวลาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และห้องสื่อการเรียนรู้ ตามเวลาและระเบียบที่กำหนด

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ได้ไม่เกินครั้งละ 2 ชั่วโมง การใช้ 1 คนต่อ 1 เครื่อง เมื่อครบเวลาเครื่อง
  • คอมพิวเตอร์จะตัดสัญญาณการใช้อัตโนมัติ
  • ห้องสื่อการเรียนรู้ใช้ได้ไม่เกินครั้งละ 2 ชั่วโมง การใช้ 4 คนต่อ 1 ห้อง เมื่อครบเวลาผู้ควบคุมจะตัด
  • สัญญาณปิด-เปิดเครื่องรับโทรทัศน์และเครื่องเสียง
  • ผู้ใช้ต้องออกจากห้องเมื่อสัญญาณถูกตัด

6.เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้งานของผู้ใช้

  • ให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใช้งาน
  • สอดส่อง ดูแล ตักเตือนการใช้งานเว็ปไซต์ที่ไม่เหมาะสม
  • ดูแลการใช้งานให้เป็นไปตามระเบียบ
  • อำนวยความสะดวกในการใช้งานให้กับผู้ใช้

7.ผู้ใช้ลงทะเบียนออกจากระบบ

  • ผู้ใช้นำบัตรหมายเลขเครื่อง หมายเลขอุปกรณ์ หมายเลขห้องที่ได้รับตอนลงทะเบียนคืนที่เจ้าหน้าที่
  • ผู้ใช้รับบัตรคืนที่เจ้าหน้าที่

8.บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์  และห้องสื่อการเรียนรู้ พร้อมอุปกรณ์สื่อผสมเพื่อการเรียนรู้ให้พร้อมใช้งานทุกวัน

  • หากอุปกรณ์ชำรุด เสียหาย ให้ดำเนินการซ่อมแซม แก้ไข

9.ตรวจสอบและบำรุงรักษาห้องเรียนรู้ด้วยตนเองให้ทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพทุกวัน

  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
  • ตรวจสอบระบบทำความเย็น
  • ตรวจสอบระบบเครื่องเสียง
  • ตรวจสอบระบบเครือข่าย

10.ประเมินผลการใช้งานห้องเรียนรู้ด้วยตนเอง

  • ทำแบบประเมินผลการให้บริการกระดาษ
  • สรุปแบบประเมินผลการให้บริการกระดาษ
  • รายงานผลการประเมินผู้รับบริการให้ผู้บริหารทราบกระดาษ
  • ปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการ

11.  แบบฟอร์มกระดาษ

  • แบบฟอร์มการลงทะเบียน
  • แบบการประเมินผลการให้บริการ

< หน้าก่อนนี้หน้าถัดไป >