การจัดการความรู้เกี่ยวกับการ Add Item
1. สืบค้นระเบียนจาก ISBN หรือชื่อเรื่อง ถ้ามีก็จะปรากฏข้อมูลขึ้นที่หน้าจอให้เลย แต่ถ้าไม่มีให้สร้างระเบียนใหม่
สิ่งที่จะต้องลงรายการหรือตรวจเช็คให้ถูกต้องมีดังต่อไปนี้
Tag 008
- ถ้ามีปีพิมพ์ ก็ให้ใส่ ปีพิมพ์ที่ ช่อง Date 1
- เลือกเมนูในช่อง เมนู illus คือ ภาพประกอบต่างๆ ถ้าไม่มี ก็ใส่ #
- เลือก Contents คือ ลักษณะเนื้อหา ถ้าไม่ระบุ ก็ใส่ #
- นอกเหนือจากนั้นจะตั้งค่าตามนี้
- แต่ถ้าไม่มีปีที่พิมพ์จะกำหนด ช่อง Date Tp เป็น n- คือไม่ทราบปีพิมพ์
- เมื่อลงข้อมูลครบถ้วนถูกต้องแล้ว ก็กดตกลง
ลงรายการให้ครบถ้วนในแต่ละ Tag ดังนี้
- 020 คือ $aISBN
- 082 คือ $aเลขเรียกหนังสือ $bเลขผู้แต่ง
- 100 คือ $aชื่อ-สกุลผู้แต่ง.
- 245 คือ $aชื่อเรื่อง / $cชื่อ-สกุลผู้แต่ง.
- 250 คือ $aพิมพ์ครั้งที่ (ถ้าพิมพ์ครั้งที่ 1 ไม่ต้องใส่ช่องนี้)
- 260 คือ $aสถานที่พิมพ์ : $bสำนักพิมพ์หรือหน่วยงานผู้ผลิต, $cปีที่พิมพ์
- 300 คือ $aจำนวนหน้า หน้า : $bภาพประกอบหรือตาราง(ถ้าไม่มีไม่ต้องใส่$b) ; $cขนาด ซ.ม.
- 504 คือ $aบรรณานุกรม (ถ้ามี)
- 650 คือ $aหัวเรื่องทั่วไป
- 951 คือ $aCHL
จากนั้นกด save เพื่อบันทึกข้อมูล
2. ดูรายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ ว่าถูกต้องตรงกับหนังสือที่เรากำลังจะ Add Item รึเปล่า เมื่อตรวจแก้ข้อมูลถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จึง save ข้อมูล จากนั้นคลิกที่แสดงรายการทรัพยากร
3. คลิกที่รายการ แสดงรายการทรัพยากรเพื่อเพิ่มหนังสือเข้าระบบ ใส่รายละเอียด
4. ถ้าต้องการเพิ่มฉบับให้คลิกที่เล่มล่าสุด แล้วคลิกที่เพิ่มฉบับ
5. พิมพ์เลขบาร์โค้ด พิมพ์ราคา ประเภทหนังสือ แต่ถ้าเป็นหนังสืออภินันทนาการ ก็ให้เปลี่ยนตรงวิธีการจัดหา แล้วกดตกลง
6. จากนั้นเขียนเลขเรียกลงในหนังสือ แล้วส่งต่อไปทำลาเบลต่อไป
ภาพการปฏิบัติงาน KM ในหัวข้อเรื่อง “การ Add Item” ปฏิบัติงาน KM โดย น.ส. นวลพรรณ จำปาเทศ