เริ่มดำเนินการจัดตั้งเป็นโครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิวัตร จารุวาระกูล เป็นประธานโครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีสำนักงานชั่วคราวตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เทเวศร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มีกฎกระทรวง จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ให้เป็นสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดหา พัฒนา ดูแล รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้กับหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 แห่ง ได้แก่ สาขาโชติเวช สาขาพณิชยการพระนคร สาขาชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และสาขาพระนครเหนือ การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อมุ่งไปสู่การเป็น e-University ตามยุทธศาสตร์ มีภาระกิจดังนี้
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอซีทีให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง
- มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Oriented)
- พัฒนาระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเรียนการสอน
- พัฒนาระบบ e-office และ e–Service อย่างบูรณาการให้ครอบคลุมและปลอดภัย
- สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกและการให้บริการชุมชน
- พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยไปสู่ e-Knowledge
- พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยให้มีความมั่นคงและปลอดภัยสูง
โครงสร้างหน่วยงาน
บุคลากรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงาน | อาจารย์ | สนับสนุน | พนักงานราชการ | พนักงานมหาวิทยาลัย | ลูกจ้างชั่วคราว | รวม |
สำนักงานผู้อำนวยการ | ||||||
กลุ่มวิทยบริการ | ||||||
กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||||||
ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ | ||||||
รวม |
หน้าที่ความรับผิดชอบ
ตำแหน่ง/ความก้าวหน้า | หน้าที่ความรับผิดชอบ | สมรรถนะที่ต้องการ |
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ระดับ 3-7 ปฏิบัติงานกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ | 1.ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
2. ติดตั้งชุดคำสั่งสำเร็จรูป ใช้ปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานที่ได้วางแผนไว้แล้ว ทดสอบความถูกต้องของชุดคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง 3. เขียนโปรแกรม PHP, Asp.Net หรือ Microsoft.net ใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access, Microsoft SQL, MySQL, Oracle 4. ดูแลปรับปรุงพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แม่ข่าย ลูกข่าย การจราจรบนระบบ 5. ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้เหมาะสม 6. ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่าย 7. ดูแลปรับปรุง พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัย 8. ปฎิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย |
1.มีความสามารถในการเขียนโปรแกรม PHP, Asp.Net หรือ Microsoft.net ใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access, Microsoft SQL, MySQL, Oracle
2.มีความสามารถในใช้โปรแกรมพัฒนาเว็ปไซต์ได้ |
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา(ปริญญาโท) ระดับ 3-8 ปฏิบัติงานกลุ่มวิทยบริการ | 1. บริหารการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนวัตกรรมการศึกษา
2. บริหารการจัดประชุม อบรม และสัมมนาเกี่ยวกับการผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 3. ควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกระบวนการผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 4. ประเมินคุณภาพเครื่องมือวัดและเมินผลสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 5. ประสานงานด้านการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมการเรียนการสอน 6. ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาด้านการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้เกี่ยวข้อง 7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย |
1. มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
2. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต 3. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาด้วยระบบอีเลอร์นนิง 4. มีความสามารถในการบริหารการจัดประชุม อบรม และสัมมนาเกี่ยวกับการผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 5. สามารถควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกระบวนการผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษาได้ 6. สามารถประเมินคุณภาพเครื่องมือวัดและประเมินผลสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 7. มีประสบการณ์ทางการศึกษา ทางการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อการ 8.มีความสามารถในการใช้โปรแกรม Photoshop, Illustrator, Indesign, Flash 9. มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานอื่นได้ดี มีความรับผิดชอบมีความอดทนเสียสละ มีความคิดริเริ่มและมีปฏิภาณไหวพริบ มีบุคลิกภาพ และท่วงทีวาจาเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ |
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา(ปริญญาตรี) ระดับ 3-7 ปฏิบัติงานกลุ่มวิทยบริการ | 1. ปฏิบัติงานด้านการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนวัตกรรมการศึกษา
2. จัดประชุม อบรม และสัมมนาเกี่ยวกับการผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 3. วิเคราะห์บทเรียนเพื่อการออกแบบสื่อการสอน 4. ออกแบบกระบวนการผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 5. เขียนและออกแบบบทการดำเนินเรื่อง (Script) สื่อการสอน 6. ออกแบบและเขียนผังการดำเนินเรื่อง (Story board) สื่อการสอน 7. ออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินผลสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 8. ดูแลและควบคุมการใช้เครื่องมือการผลิตสื่อโสตทัศนศึกษา 9. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย |
1.มีความรู้ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
2. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต 3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาด้วย ระบบอีเลอร์นนิง 4. ออกแบบกระบวนการผลิตสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 5. เขียนและออกแบบบทการดำเนินเรื่อง (Script) สื่อการสอน 6. ออกแบบและเขียนผังการดำเนินเรื่อง (Story board) สื่อการสอน 7. มีความสามารถในการใช้โปรแกรม Photoshop, Illustrator, Indesign, Flash |
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ระดับ 3-7ปฏิบัติงานกลุ่มวิทยบริการ | 1. ปฏิบัติงานด้านการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนวัตกรรมการศึกษา
2. ออกแบบและเขียนผังการดำเนินเรื่อง (Story board) เพื่อผลิตสื่อการสอน 3. วิเคราะห์ผังการดำเนินเรื่อง (Story board) เพื่อผลิตสื่อการสอน 4. ออกแบบและผลิตงานกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ 5. ออกแบบและผลิตภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ 6. ออกแบบและเขียนโปรแกรมแบบทดสอบเพื่อการวัดประเมินผลบทเรียน 7. ออกแบบหน้าเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนออนไลน์ 8. นำสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์เข้าระบบเครื่องแม่ข่ายระบบสื่อการสอน 9. ดูแลและควบคุมการใช้เครื่องมือการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 10. ให้คำแนะนำด้านเทคนิคการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่คณาจารย์ที่เกี่ยวข้อง 11. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย |
1. มีความรู้ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
2. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต 3. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาด้วยระบบอีเลอร์นนิง 4. สามารถออกแบบและเขียนผังการดำเนินเรื่อง (Story board) สื่อการสอนได้ 5. มีความสามารถในการวิเคราะห์ผังการดำเนินเรื่อง (Story board)เพื่อผลิตสื่อการสอน 6. สามารถออกแบบและผลิตงานกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ |
บรรณารักษ์ระดับ 3-7 ปฎิบัติงานกลุ่มวิทยบริการ | 1.ทำการวิเคราะห์ พัฒนา และจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้แก่ ประเภทหนังสือ สารนิพนธ์ จุลสาร และสื่อการสอนประกอบหนังสือ (CD-ROM)
2.จัดทำกฤตภาค เพื่อให้บริการภายในห้องสมุด 3.บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า 4.บริการแนะนำการให้บริการการใช้ห้องสมุด 5.บริการห้องศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง 6.ช่วยงานอื่น ๆ เช่น งานบริการ ยืม – คืน วัสดุสารสนเทศ 7.ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย |
1. มีความสามารถในการจัดทำหมู่และวัสดุสารสนเทศลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
2. สามารถอ่าน สรุป จับใจความสำคัญ วิเคราะห์เนื้อหา เขียนรายงานได้ |
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ระดับ 3-7 ปฎิบัติงานกลุ่มวิทยบริการ(ห้องสมุด) | 1.ช่วยวิเคราะห์ พัฒนา และจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้แก่ ประเภทหนังสือ สารนิพนธ์ จุลสาร และสื่อการสอนประกอบหนังสือ (CD-ROM)
2.บริการยืม – คืน วัสดุสารสนเทศ 3.ติดซองบัตร – บัตรยืมวัสดุสารสนเทศ 4.พิมพ์เลขเรียกหนังสือ 5. พิมพ์ซองบัตร, บัตรยืม 6. จัดทำหนังสือทวง กรณีนักศึกษาไม่ส่งคืนวัสดุสารสนเทศตามกำหนด 7. จัดเก็บและติดตามทวงค่าปรับ 8. เก็บสถิติงานบริการทุกอย่าง 9. การเรียงหนังสือขึ้นชั้น 10.งานซ่อมเย็บเล่ม 11.บริการงานห้องศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง 12.ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย |
1.มีความสามารถในการจัดทำหมู่และวัสดุสารสนเทศลงในฐานข้อมูลห้องสมุด |
นักวิชาการศึกษา ระดับ 3-7 ปฎิบัติงานกลุ่มวิทยบริการ | 1. ปฏิบัติงานด้านการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนวัตกรรมการศึกษา
2. วิเคราะห์บทเรียนเพื่อการออกแบบสื่อการสอน 3. วิเคราะห์จุดประสงค์ทั่วไป จุดประสงค์การเรียนรู้ จากเนื้อหาบทเรียน 4. วิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนและแบ่งเป็นเนื้อหาบ่อย 5. ออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินผลสื่อและนวัตกรรมการศึกษา 6. ทดสอบหาประสิทธิภาพสื่อและนวัตกรรม 7. ดูแลและควบคุมการใช้เครื่องมือการผลิตสื่อโสตทัศนศึกษา 8. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย |
1. จบการศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมทุกสาขา
2. สามารถใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกได้เป็นอย่างดี 3. สามารถออกแบบสื่อการสอนได้ 4. สอบความรู้ความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ 5. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต 6. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาด้วยระบบอีเลอร์นนิง 7. วิเคราะห์บทเรียนเพื่อการออกแบบสื่อการสอน 8. วิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนและแบ่งเป็นเนื้อหาย่อย 9. ออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินผลสื่อและนวัตกรรมการศึกษา |
ระบบทดสอบสมรรถนะ…
ระบบทดสอบสมรรถนะบุคลากร สวท.
สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการทดสอบสมรรถนะบุคลากรทั้ง 4 ด้านด้วยโปรแกรมทดสอบสมรรถนะ และรายงานผลการวิเคราะห์สมรรถนะเพื่อหาช่องว่างระหว่างความรู้ความสามารถ สมรรถนะหลักในปัจจุบันเปรียบเทียบกับสมรรถนะเป้าหมายที่สำนักต้องการ นำมาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร และทบทวนกระบวนการจัดการความรู้ที่กำหนดไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
แผนพัฒนาบุคลากร สวท. ปี 2551 – 2554
เป้าหมาย : พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e-Manpower)
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฎิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านห้องสมุด และด้านผลิตสื่อการเรียนการสอน ให้มีความรู้ ความสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
กลยุทธ์ :
1.ส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ และศักยภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อความก้าวหน้าในงาน ด้วยการดูงาน การฝึกอบรม ประชุมทางวิชาการ
2.พัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
3.พัฒนาความรู้ ทักษะการปฏิบัติงานของบุคลากรเกี่ยวกับระบบงานและภาระงานที่รับผิดชอบ
4.พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีความสอดคล้องตามภารกิจและลักษณะงาน
5.ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการเข้าถึงและเชื่อมโยงความรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพบุคลากรและระบบงาน
6.ส่งเสริมจัดการความรู้ภายในหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถนำความรู้ จากการปฏิบัติจริงมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและพัฒนางาน
7.เพื่อพัฒนาสำนักให้เป็นหน่วยงานแห่งการเรียนรู้
กิจกรรม :
1.โครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
2.โครงการฝึกอบรมวิทยบริการอิเล็กทรอนิกส์
3.โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน
4.แผนการจัดการความรู้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตัวชี้วัด :
1.จำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75
2.จำนวนความรู้ที่ได้รับการบ่งชี้ ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง ต่อปี
การติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร :
1. หน่วยงานที่เสนอแผน : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ผู้ติดตามและประเมินผล : รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร
3. การติดตามประเมินผล : สำนักดำเนินการติดตามประเมินผลปีละ 1 ครั้ง โดยติดตามโครงการที่ดำเนินการในปีงบประมาณที่ผ่านมา และนำผลการประเมินไปปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร
4. การประเมินสัมฤทธิผลของแผนพัฒนาบุคลากร : สำนักดำเนินการวิเคราะห์ผลการประเมินและติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อประเมินสัมฤทธิผลของแผนพัฒนาบุคลากร และจัดทำรายงานสรุปสัมฤทธิผลของแผนพัฒนาบุคลากร ปีละ 1 ครั้ง
แนวทางการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร :
1.ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม ประชุมสัมมนา และดูงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
2.สร้างเครือข่ายความร่วมมือในหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนางานที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัย
3.ส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อทั้งภายในและต่างประเทศ
4.ส่งเสริมการจัดการความรู้ภายในหน่วยงานต่างๆ ของสำนักเพื่อให้สามารถนำความรู้จากการปฏิบัติจริง จากการฝึกฝน และจากประสบการณ์ที่แอบแฝงอยู่ในตัวบุคคล มาใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนางาน
5.จัดโครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารและภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารทุกระดับของสำนัก
6.ส่งเสริมให้บุคลากรของสำนักได้รับการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์
7.ใช้หลักการมอบหมายงานควบคู่กับการมอบอำนาจในการปฏิบัติงาน(Empowerment) เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถพัฒนาศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
8.นำแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะ(Competency) มาใช้ในการพัฒนาบุคลากร โดยเน้นการประเมินสมรรถนะเพื่อการพัฒนาเป็นรายบุคคล และส่งเสริมการพัฒนาผู้บังคับบัญชาระดับต้นและระดับกลางให้สามารถระบุระดับสมรรถนะที่เป็นอยู่จริงของผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นรายบุคคลได้
9.พัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้โดยส่งเสริมการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Standard operating procedure)
10.ส่งเสริมให้หน่วยงานปรับปรุงกระบวนงานให้บริการที่สำคัญให้สั้น กระชับ โดยเน้นการผลิตผลงานที่รวดเร็วและถูกต้อง
11.ส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสให้บุคลากรได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารในระดับที่สามารถใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง
12.สำนักจัดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ สร้างทักษะด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง และส่งเสริมให้แต่ละฝ่ายดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการพัฒนา (Training Needs) เฉพาะของแต่ละ
13.สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างจิตสำนึกความเป็นสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ในหลักสูตรการสัมมนาและฝึกอบรมสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน
14.จัดตั้งเครือข่ายการจัดการความรู้ของบุคลากรภายในสำนักเพื่อส่งเสริมให้มีการสื่อประสานระหว่างบุคลากรที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ และเพื่อให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ตลอดจนให้การสนับสนุนด้วยการจัดการฝึกอบรมในเรื่องการใช้ Weblog ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย
15.จัดทำคลังข้อมูลองค์ความรู้ซึ่งอยู่ในสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น วีดิทัศน์ ซีดี แถบบันทึกเสียง และเอกสาร ไว้บน Website ของสำนัก และเผยแพร่ให้บุคลากรที่สนใจสามารถเข้าถึงเพื่อการศึกษาเรียนรู้และใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
16.จัดให้มีการถ่ายทอดสดกิจกรรมทางวิชาการหรือกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของบุคลากรผ่าน Website ของสำนักเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของบุคลากรและบันทึกไว้ในคลังความรู้
รายละเอียดโครงการพัฒนาบุคลากรจำแนกรายปี
ปี 2551
โครงการ | กลุ่มเป้าหมาย | หน่วยงานรับผิดชอบ |
1. โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาระบบงานห้องสมุดอัตโนมัติ “Walai Auto LIB” | บรรณารักษ์ | สวท. |
2. การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ | บรรณารักษ์ | สวท. |
3. เทคนิคการติดตั้งสายสัญญาณคอมพิวเตอร์เครือข่าย | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | สวท. |
4. การสร้างเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ | สวท. |
5. โครงการสัมมนาและศึกษาดูงานการพัฒนาระบบบริหารจัดการสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ และตัวบ่งชี้ | บุคลากรทุกคนของสำนัก | สวท. |
6. ส่งบุคลากรเข้าร่วมสัมมนากับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย | บรรณารักษ์, นักวิชาการคอมพิวเตอร์, ผู้บริหาร | หน่วยงานภายนอก มทร.พระนคร |
7. ส่งบุคลากรเข้าร่วมสัมมนากับหน่วยงานของมหาวิทยาลัย | บรรณารักษ์, นักวิชาการคอมพิวเตอร์, ผู้บริหาร | หน่วยงานภายใน มทร.พระนคร |
ปี 2552
โครงการ | กลุ่มเป้าหมาย | หน่วยงานรับผิดชอบ |
1.อบรมหลักสูตร Microsoft.NET Framework Application Development Foundation | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | สวท |
2. อบรมหลักสูตร Microsoft.NET Programming Web Application using ASP.NET | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | สวท |
3. อบรมหลักสูตร Microsoft.NET Programming Data Access using ADO.NET | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | สวท. |
4. อบรมหลักสูตร Microsoft.NET Distributed Application Integrating XML Web Services and Distributed Application | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | สวท. |
5. อบรมหลักสูตร Begining Oracle Database Administration | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | สวท. |
6. อบรมหลักสูตร Oracle Database Backup & Recovery | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | สวท. |
7. โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “Walai AutoLIB” | บรรณารักษ์ | สวท. |
8. โครงการอบรมปฎิบัติการจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ | บรรณารักษ์ | สวท. |
9. อบรมและดูงานด้านการบริหารและการบริการงานวิทยบริการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | บุคลากรทุกคนของสำนัก | สวท. |
10.ส่งบุคลากรเข้าร่วมสัมมนากับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย | บรรณารักษ์, นักวิชาการคอมพิวเตอร์, ผู้บริหาร | หน่วยงานภายนอก มทร.พระนคร |
11.ส่งบุคลากรเข้าร่วมสัมมนากับหน่วยงานของมหาวิทยาลัย | บรรณารักษ์, นักวิชาการคอมพิวเตอร์, ผู้บริหาร | หน่วยงานภายใน มทร.พระนคร |
ปี 2553
โครงการ | กลุ่มเป้าหมาย | หน่วยงานรับผิดชอบ |
อบรมการใช้โปรแกรมระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งเอกสารทางการเงิน | ||
อบรมการบริหารจัดการความรู้เรื่องการจัดทำ Weblog | ||
อบรมทักษะการสร้างบทเรียน e-Learning | ||
อบรมเตรียมสอบมาตรฐานไมโครซอฟต์ | ||
อบรมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่าย | นักวิชาการคอมพิวเตอร์ |
ผลการพัฒนาบุคลากร
ปี 2552
โครงการอบรมและศึกษาดูงานด้านการบริหารและการบริการงานวิทยบริการ
กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. โครงการอบรมหลักสูตร Microsoft .NET Framework Application Development Foundation
2. โครงการอบรมหลักสูตร Microsoft .NET Programming Web Application using ASP .NET
3. โครงการอบรมหลักสูตร Microsoft .NET Programming Data Access using ADO .NET
4. โครงการอบรมหลักสูตร Microsoft .NET Distributed Application Integrating XML Web Services and Distributed Application
5. โครงการอบรมหลักสูตร Beginning Oracle Database Administration
6. โครงการอบรมหลักสูตร Oracle Database Backup & Recoverกลุ่มวิทยบริการ
1. โครงการสัมมนาเพื่อพัฒนาระบบงานห้องสมุดอัตโนมัติ “Walai AutoLIB”
2. โครงการอบรมปฎิบัติการจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนั้นสำนักยังส่งบุคลากรไปอบรมสัมมนาเพื่อแสวงหาความรู้นอกหน่วยงาน เพื่อนำความรู้มาพัฒนางาน ดังมีรายชื่อ
ปี 2553
1. อบรมการใช้โปรแกรมระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งเอกสารทางการเงิน
2. อบรมการบริหารจัดการความรู้เรื่องการจัดทำ Weblog
3. อบรมทักษะการสร้างบทเรียน e-learninga. Learning Management System
b. Photoshop CS4
c. Illustrator CS4
d. Flash CS4
e. Indesign
4. อบรมเตรียมสอบมาตรฐานไมโครซอฟต์
a. Managing and Maintain Microsoft Windows Server 2008 Environment
b. Configuring Microsoft Windows Server 2008 Network Infrastructure
c. Implementing and Maintaining Microsoft Windows Server 2008 Active Directory Infrastructure Infrastructure
d. Planning, Administering and Designing a Windows Server 2008 Administrator5. อบรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
a. Queries Using Microsoft SQL Server 2008 Transact and Administering
b. Interconnecting Cisco Networking Devices (Cisco Certified Network Associate/CCNA 640-802)
c. C# Programming in Visual Studio 2008
d. Developing Web Applications Using Microsoft Visual Studio 2008
e. Core Servlets and Java Server Pages
การประเมินผล…
การประเมินผล แผนการจัดการความรู้ แผน 2
ลำดับ | กิจกรรมการจัดการความรู้ | ตัวชี้วัด | เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
1 | การบ่งชี้ความรู้ | มีทะเบียนรายการความรู้ที่ได้รับการบ่งชี้ | 5 เรื่อง | มีการบ่งชี้ความรู้ เรื่อง ระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ และการบริหาร (FIS) โดยมีทะเบียนรายการความรู้ที่ได้รับการบ่งชี้จำนวน 5 เรื่อง คือ 1. รายงานการศึกษาดูงานระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 2. รายงานการศึกษาดูงานระบบการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา 3. รายการศึกษาดูงานระบบการจัดการสารสนเทศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. รายงานการศึกษาดูงานระบบการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 5. รายงานการศึกษาดูงานระบบการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
2 | การสร้างและแสวงหาความรู้ | จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม | ร้อยละ 80 | ภายในหน่วยงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดอบรมการใช้โปรแกรมการจัดการสนเทศเพื่อการประกัน-คุณภาพและการบริหาร มีผู้เข้ารับการอบรมเป็นหัวหน้าสาขาวิชา เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพของหน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุนทั้งสิ้น 55 คน ภายนอกหน่วยงาน บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ 2 คนเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับระบบการจัดการสารสนเทศหน่วยงาน จัดโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร – ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยบูรพา – ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง – ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
3 | การจัดความรู้ให้เป็นระบบ จัดทำทะเบียนความรู้ |
มีทะเบียนรายการความรู้ที่ได้รับการบ่งชี้ | มีทะเบียนความรู้ | จัดทำแฟ้มข้อมูลรวบรวมความรู้ จำนวน 1 แฟ้ม |
4 | การประมวลและกลั่นกรองความรู้ | มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างน้อย 1 กิจกรรม | จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้ง | รวบรวมองค์ความรู้เป็นระบบจำนวน 1 แฟ้ม |
5 | การเข้าถึงความรู้ | มีจำนวนช่องทางที่เข้าถึงความรู้ | อย่างน้อย2 ช่องทาง | – มีการเผยแพร่ทาง Website http://fis.rmutp.ac.th/ – มีการจัดทำเป็นเอกสาร และ e-document – มีการอบรมจำนวน 1 ครั้ง – มีหนังสือเวียนแจ้งให้ทุกหน่วยงาน – ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ |
6 | การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน web board -ชุมชนนักปฏิบัติ (COP) |
จำนวนครั้งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | ความถี่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ครั้ง 2 เดือน/ |
– จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
– มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทาง Web board/e-mail |
7 | การเรียนรู้ -การนำการจัดการความรู้ไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนางาน |
จำนวนบุคคลากรในหน่วยงานที่ได้รับความรู้และนำผลไปใช้ | ร้อยละ 70 ของบุคลากรที่ได้รับความรู้และนำผลไปใช้ | – ทุกหน่วยงาน/คณะนำผลการพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ และการบริหาร (FIS) – 100% ของบุคลากรที่ได้รับความรู้นำไปใช้ปฎิบัติงานจริง และนำไปปรับปรุงพัฒนางาน |
การประเมินผล องค์ความรู้ที่จำเป็น
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2552 | ||||
การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ | ||||
ชื่อส่วนราชการ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ | ||||
ประเด็นยุทธศาสตร์ | เป้าประสงค์ | ตัวชี้วัด(KPI) ตามคำรับรอง |
เป้าหมายของ ตัวชี้วัด |
การประเมินผล |
สร้างคนดี คนเก่ง มีทักษะในงาน เพื่อพัฒนาให้เป็นทุนมนุษย์ของประเทศ | พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความ สามารถทางด้านไอซีทีเข้าใจการใช้ประโยชน์จากไอซีทีอย่างคุ้มค่าและมีคุณธรรม จริยธรรม | จำนวนบุคลากรในหน่วยงานสนับสนุนที่ได้รับการพัฒนา | ร้อยละ 75 | – ทุกหน่วยงาน/คณะนำผลการพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ และการบริหาร (FIS) – 100% ของบุคลากรที่ได้รับความรู้นำไปใช้ปฎิบัติงานจริง และนำไปปรับปรุงพัฒนางาน |
รายงานผล…
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ (รายตัวชี้วัด)
รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ (รายตัวชี้วัด) | (…) รอบ 6 เดือน (…) รอบ 9 เดือน (√) รอบ 12 เดือน |
ตัวชี้วัดที่ 15 : ระดับความสำเร็จของแผนพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา | |
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิวัตร จารุวาระกูล โทร.0-2628-5238 |
ผู้จัดเก็บข้อมูล : น.ส.เพชราภรณ์ เพ็ชรแก้ว โทร.0-2282-9009-15 ต่อ 6764 |
ข้อมูลผลการดำเนินงาน : 1. สำนักมีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ และสมรรถนะ (Competencies) ที่ต้องการของบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละตำแหน่งที่สอดคล้องกับภารกิจ ลักษณะงานความจำเป็นของสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายงานเพื่อการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ ในการประเมินความต้องการจำเป็น (Needs assessment) เพื่อการพัฒนาของบุคลากรฯที่จะช่วยให้บุคลากรฯ สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ 2. สำนักนำข้อมูลตามประเด็นที่ 1 คือความต้องการจำเป็นของบุคลากรฯมาวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสมรรถนะปัจจุบัน เปรียบเทียบกับสมรรถนะเป้าหมายที่สถาบันอุดมศึกษาต้องการ และนำมาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร พร้อมทั้ง ทบทวน กระบวนการจัดการความรู้ที่ได้กำหนดไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มาปรับปรุงให้มีความเหมาะสมสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยเชื่อมโยงการจัดการความรู้กับการพัฒนาบุคลากรฯ ให้สอดคล้องกับสมรรถนะหลัก ค่านิยม และวัฒนธรรมการทำงาน ของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแผนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจหรือจากสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน 3. สำนักจัดทำเอกสารเผยแพร่องค์ความรู้ คู่มือ แผ่นพับ หรือใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การทำงาน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานโดยต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ 4. สำนักดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรระยะ 4 ปี และแผนรายปี รวมทั้งดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรได้อย่างครบถ้วน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ 5. สำนักมีระบบการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ และจัดทำรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจ รวมทั้ง นำผลการติดตามไปปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่เสริมสร้างประสิทธิภาพและเอื้อต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา 6. สำนักมีแนวทางหรือกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ที่ครอบคลุมผลการปฏิบัติงานตามลักษณะงานและภาระงานที่กำหนด รวมทั้ง ผลการพัฒนาตนเองของบุคลากรฯ โดยเชื่อมโยงกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาและระบบการให้สิ่งจูงใจอื่นของสถาบัน อุดมศึกษา 7. สำนักมีระบบการประเมินสัมฤทธิผลของแผนดังกล่าว โดยพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นต่อตัวบุคลากรฯ และผลต่อการพัฒนางานที่รับผิดชอบเป็นสำคัญ และจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและรายงานสรุปประสบการณ์ ปัญหา ข้อจำกัด แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ เสนอต่อผู้มีอำนาจหรือกรรมการสำนักเพื่อพิจารณา และนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนา/ปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากรและกระบวนการจัดการความรู้สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 |
เกณฑ์การให้คะแนน :
ระดับ 1 | ระดับ 2 | ระดับ 3 | ระดับ 4 | ระดับ 5 |
ดำเนินการได้สำเร็จครบถ้วน3 ประเด็น |
ดำเนินการได้สำเร็จครบถ้วน 4 ประเด็น | ดำเนินการได้สำเร็จครบถ้วน 5 ประเด็น | ดำเนินการได้สำเร็จครบถ้วน 6 ประเด็น | ดำเนินการได้สำเร็จครบถ้วน 7 ประเด็น |
การคำนวณคะแนนจากผลการดำเนินงาน : | ||||
ตัวชี้วัด/ข้อมูลพื้นฐานประกอบตัวชี้วัด | น้ำหนัก (ร้อยละ) | ผลการดำเนินงาน | ค่าคะแนนที่ได้ | ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก |
ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ของสถาบันอุดมศึกษา | 2.5 | ดำเนินการครบ 7 ประเด็น | 5 | 2.5 |
คำชี้แจงการปฎิบัติงาน/มาตรการที่ได้ดำเนินการ :
ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน : 1. ควรให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ 2. แจ้งให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงานตระหนักถึงความจำเป็นในการทำกิจกรรมการจัดการความรู้ 3. สำนักควรให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้มากขึ้น |
อุปสรรคต่อการดำเนินงาน : 1. ขาดแรงจูงใจในการจัดทำองค์ความรู้ 2. บุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจกิจกรรมการจัดการความรู้ |
แนวทางการพัฒนา : 1. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยแจ้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกิจกรรม 2. ในการประชุมบุคลากรของสำนัก แจ้งให้บุคลากรทุกคนตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. นำผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ และรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานการจัดการความรู้ให้คณะกรรมการสำนักรับทราบเป็นระยะ ๆ |
หลักฐานอ้างอิง : 1. เอกสารความเป็นมาของสำนัก ภารกิจของสำนัก และโครงสร้างสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาที่ครอบคลุมข้อมูลด้านความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญของบุคลากร 3. ตารางแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้า และสมรรถนะที่ต้องการในแต่ละตำแหน่งาน 4. ระบบทดสอบสมรรถนะของบุคลากรสำนัก 5. ผลการทดสอบสมรรถนะของบุคลากรเพื่อ วิเคราะห์ช่องว่างระหว่างความรู้ความสามารถ สมรรถนะหลักในปัจจุบันเปรียบเทียบกับสมรรถนะเป้าหมายของสำนักที่ต้องการ 6. แผนพัฒนาบุคลากรของสำนัก 7. ผลการพัฒนาบุคลากรของสำนัก โครงการฝึกอบรมบุคลากร 8. แผ่นพับ คู่มือ บอร์ดความรู้ เว็ปบอร์ด เว็ปไซต์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลการในสำนัก 9. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน 10. จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
หลักฐานยืนยันวันรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรของสำนักเสนอต่อผู้อำนวยการสำนัก