sar-ปี-2553-ตัวชี้วัดที่-15-2

ตัวชี้วัดที่ 15.2 ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ของสถาบันอุดมศึกษา

ประเด็นที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาจัดทำแผนการจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ซึ่งควรประกอบด้วยการขยายผลองค์ความรู้เดิมที่ดำเนินการในปีก่อนและการจัดการองค์ความรู้ใหม่ที่นำมาดำเนินการในปีปัจจุบัน โดยนำสรุปผลการในปีปัจจุบัน โดยนำสรุปผลการดำเนินงานประจำปีงลประมาณ พ.ศ.2552 มาประกอบการจัดทำแผนและเสนอต่อผู้มีอำนาจหรือสภาสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพิจารณา

ผลการดำเนินงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีแผนการจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2553 ที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจ ซึ่งประกอบด้วยการขยายผลองค์ความรู้เดิมที่ดำเนินการในปีก่อนและการจัดการองค์ความรู้ใหม่ที่นำมาดำเนินการในปีปัจจุบัน เพื่อนำองค์ความรู้มาดำเนินการตามกระบวนการจัดความรู้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

ปีงบประมาณ  2552 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ไปศึกษาดูงานและประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและห้องสมุดกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 13  สิงหาคม  2552  ได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสารสนเทศ อาทิเช่น ระบบแจ้งซ่อม (Help Desk) ระบบแสกนลายนิ้วมือ ระบบรับนักศึกษาผ่าน Website ระบบ e-Office  ระบบห้องสมุด  Walai  AutoLIB

ปีงบประมาณ 2553 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาขยายผลด้วยการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาระบบแจ้งซ่อมของมหาวิทยาลัย  เป็นการพัฒนาโปรแกรมในลักษณะ Webbase Application บน Websit ของมหาวิทยาลัยให้บุคลากรใส่ User และ Password เพื่อแจ้งปัญหาเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายผ่าน  website  ได้สะดวก เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งแล้วก็จะดำเนินการมอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงาน พร้อมจัดทำสถิติปัญหาที่เกิดขึ้นผ่าน Website รวมถึงจะได้พัฒนาเป็นคู่มือการพัฒนาระบบแจ้งซ่อมต่อไป และยังได้ขยายผลการจัดการความรู้เรื่องระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพและการบริหาร มาพัฒนาต่อให้มีรูปแบบการรายงานเพิ่มขึ้น สนองความต้องการของผู้ใช้

นอกจากนั้น ยังได้นำแนวคิดจากการดูงานห้องสมุด มาพัฒนาระบบงานห้องสมุดของสำนักวิทยบริการ ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น รวมถึงได้นำแนวคิดมาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรณารักษ์ห้องสมุดของสำนักจัดทำเป็นแผนการจัดการความรู้ ปี 2553 เรื่องความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ (การทำแคตตาล็อคหนังสือ) ดังรายละเอียด ดังนี้

1. รายงานผลการดำเนินงาน KM ปี 2552
2. แผนการจัดการความรู้ ปี 2553
3. สำนักเสนอแผนการจัดการความรู้ดังกล่าวแก่ผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2553

ประเด็นที่ 2 สถาบันอุดมศึกษามีระบบการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ประจำปี อย่างสม่ำเสมอ และจัดทำรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจ

ผลการดำเนินงาน

สำนักฯ ได้จัดทำประกาศหรือคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานหรือเอกสารมอบหมายผู้รับผิดชอบให้มีการดำเนินการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผน ดังนี้

1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ในสำนักวิทยบริการฯ
2. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ในองค์กร (KM) ในสำนักวิทยบริการ
3. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนนักปฏิบัติภายในหน่วยงาน (COP)
4. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการจัดการความรู้ในสำนัก

หลักฐานการดำเนินงาน

1. รายงานความก้าวหน้าการจัดการความรู้ ไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2553
2. รายงานความก้าวหน้าการจัดการความรู้ ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2553
3. รายงานความก้าวหน้าการจัดการความรู้ ไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2553
4. รายงานความก้าวหน้าการจัดการความรู้ ไตรมาส 4 ปีงบประมาณ 2553

สำนักฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ โดยจัดให้มีการประชุมการจัดการความรู้ห้องสมุด (RMUTP LIBS – KM)   เพื่อนำผลการประชุม มาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงาน  รายงานการประชุมการจัดการความรู้ห้องสมุด (RMUTP LIBS – KM) มีการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ที่เสนอต่อผู้มีอำนาจเป็นระยะ พร้อมจัดทำรายงานเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักฯ ดังนี้

1. บันทึกส่งรายงานการจัดการความรู้ (KM) และรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองรอบ 6 เดือน

2. บันทึกส่งรายงานการจัดการความรู้ (KM) และรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองรอบ 9 เดือน

3. บันทึกส่งรายงานการจัดการความรู้ (KM) และรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองรอบ 12 เดือน

  • นำผลการติดตามไปปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่เสริมสร้างประสิทธิภาพและเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร
  • สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่เสริมสร้างประสิทธิและเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร กระบวนการหรือกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. สภาพแวดล้อมก่อนปรับปรุง 2. สภาพแวดล้อมหลังปรับปรุง

    สำนักฯได้จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติขึ้น 4 ชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ดังนี้

    1. CL COP : ชุมชนนักปฏิบัติเทเวศร์
    2. CHL COP : ชุมชนนักปฏิบัติโชติเวช
    3. BCL COP : ชุมชนนักปฏิบัติพณิชยการพระนคร
    4. NBL COP : ชุมชนนักปฏิบัติพระนครเหนือ

    ประเด็นที่ 3 สถาบันอุดมศึกษาจัดทำเอกสารเผยแพร่องค์ความรู้ คู่มือ แผ่นพับ หรือใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบเพื่อให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ การทำงาน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ

    ผลการดำเนินงาน

    ชุมชนนักปฏิบัติทั้ 4 ชุมชน จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันทำให้ทุกคนมีความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้นทำให้การทำงานมีระเบียบแบบแผน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ดังนี้

    รอบ 9 เดือน

    1. ชุมชนนักปฏิบัติเทเวศร์
    2. ชุมชนนักปฏิบัติโชติเวช
    3. ชุมชนนักปฏิบัติพณิชยการพระนคร
    4. ชุมชนนักปฏิบัติพระนครเหนือ

    รอบ 12 เดือน

    1. ชุมชนนักปฏิบัติเทเวศร์
    2. ชุมชนนักปฏิบัติโชติเวช
    3. ชุมชนนักปฏิบัติพณิชยการพระนคร
    4. ชุมชนนักปฏิบัติพระนครเหนือ

    จากนั้น จึงทำการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับให้กับทุกคนได้รับทราบและปฏิบัติตาม

    1. บันทึกเผยแพร่การจัดการความรู้ รอบ 6 เดือน
    2. บันทึกเผยแพร่การจัดการความรู้ รอบ 9 เดือน
    3. บันทึกเผยแพร่การจัดการความรู้ รอบ 12 เดือน

    หลักฐานยืนยันที่แสดงถึงประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารดังกล่าว ได้แก่ ความสมบูรณ์ในการสื่อสารหรือการถ่ายทอดข้อมูล การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ความสะดวก และความรวดเร็ว ทั้งนี้ ได้ทำการเผยแพร่องค์ความรู้ไปในช่องทางต่างๆหลายช่องทาง ดังนี้

    1. ติดบอร์ดประชาสัมพันธ์
    2. เว็บไซต์ห้องสมุด
    3. Webboard ห้องสมุด

    ประเด็นที่ 4 สถาบันอุดมศึกษามีการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและสังคมรวมทั้งมีการเผยแพร่ให้สังคมรับทราบ

    ผลการดำเนินงาน

    จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนนักปฏิบัติ จึงรวบรวมความรู้ที่ได้นำมาจัดทำคู่มือในการปฏิบัติงาน ดังนี้

    1. คู่มือ “Best Pratice คู่มือการทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ ตามระบบ Walai AutoLib” ไปให้ห้องสมุดทุกแห่งรับทราบและดำเนินการตามคู่มือ

    2. คู่มือการลงรายการเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (TDC) ไปให้ห้องสมุดทุกแห่งรับทราบและดำเนินการตามคู่มือ

    หลักฐานที่แสดงถึงรูปแบบและช่องทางการเผยแพร่ผลที่ได้จากกระบวนการจัดการความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ให้สังคมรับทราบโดยระบุถึงช่วงเวลาในการเผยแพร่ในแต่ละช่องทางอย่างชัดเจน

    1.  มีการเผยแพร่ทาง Web board ของสำนักวิทยบริการฯ โดยเริ่มเปิดใช้เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2553 เข้าถึงได้

    2. เว็บไซต์ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย

    3. มีการจัดทำเป็นเอกสาร และ e-document

    4. มีหนังสือเวียนแจ้งให้ทุกบุคลากรงานห้องสมุดทุกแห่งรับทราบและนำไปปฏิบัติ

    ประเด็นที่ 5 สถาบันอุดมศึกษาจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานของแผนการจัดการความรู้ประจำปีและรายงานสรุปประสบการณ์ ปัญหา ข้อจำกัด แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ เสนอต่อผู้มีอำนาจหรือสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพิจารณา และนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนา/ปรับปรุงแผนการจัดการความรู้สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

    ผลการดำเนินงาน

    รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ ที่ระบุผลการดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนด ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ จากการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

    1. รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ(รายตัวชี้วัด) 15.2 รอบ 12 เดือน  ปีงบประมาณ 2553
    2. ประเมินผล แผนการจัดการความรู้ แผน 2
    3. ผลการประเมินแบบสอบถาม เรื่อง การจัดการความรู้ในองค์กร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
    4. ผลการประเมินประสิทธิผลแผนการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

    หลักฐานยืนยันวันหรือช่วงเวลาที่สำนักได้เสนอสรุปผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ของสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวต่อผู้มีอำนาจหรือเพื่อพิจารณา

    สำนักฯได้จัดทำบันทึกส่งรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2553 รอบ 12 เดือน ไปยังผู้อำนวยการศูนย์การจัดการความรู้ เพื่อเผยแพร่ต่อไป

    Scroll to Top