การฝึกอบรมการใช้งานฐานข้อมูลอ้างอิงการวิจัย Reference Database
สำหรับบุคลากร สายวิชาการ
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 8.30-16.00 น. ณ ห้อง Big data virtual lab ชั้น 4 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สำนักวิทยฯ จึงจัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานฐานข้อมูลอ้างอิงการวิจัย Reference Database สำหรับบุคลากรสายวิชาการ” แนะนำการใช้งานฐานข้อมูลอ้างอิงการวิจัย ตลอดจนเทคนิควิธีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับอาจารย์ ฝึกทักษะทางด้านการสืบค้นสารสนเทศ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษาวิจัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพิ่มศักยภาพในการใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากที่สุด
วิทยากร : นายจิรวัฒน์ พรหมพร บริษัท บุ๊ค โปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
รายชื่อผู้เข้าอบรม
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
คณะหน่วยงาน |
|
1 | อาจารย์เอนก | ศรฟ้า | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
2 | อาจารย์ ดร.เกศทิพย์ | กรี่เงิน | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
3 | อาจารย์จิราภัทร | โอทอง | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
4 | ผศ.ดร.ประพาฬภรณ์ | ธีรมงคล | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
5 | อาจารย์ธันวา | สุทธิชาติ | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
6 | อาจารย์ ดร.เปรมะพี | อุยมาวีรหิรัญ | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
7 | อาจารย์สุธิดา | กิจจาวรเสถียร | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
8 | อาจารย์วรธร | ป้อมเย็น | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
9 | อาจารย์สุวดี | ประดับ | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
10 | ผศ.อัชชา | หัทยานานนท์ | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
11 | อาจารย์ลัดดาวัลย์ | กลิ่นมาลัย | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
12 | อาจารย์บุญยนุช | ภู่ระหงษ์ | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
13 | อาจารย์มัลลิกา | จงจิตต์ | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
14 | อาจารย์วรลักษณ์ | ป้อมน้อย | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
15 | ผศ.ดร.น้อมจิตต์ | สุธีบุตร | คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ |
16 | อาจารย์ศิรินทิพย์ | กุลจิตรตรี | คณะบริหารธุรกิจ |
17 | อาจารย์ดารุณี | บุญมา | คณะบริหารธุรกิจ |
18 | อาจารย์วริสรา | ยงยิ่งประเสริฐ | คณะบริหารธุรกิจ |
19 | อาจารย์นิลมิต | นิลาศ | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
20 | อาจารย์พุทธิพงศ์ | เลขะชัยวรกุล | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
21 | อาจารย์ศศิประภา | เวชศิลป์ | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ |
22 | อาจารย์สุนทร | บินกาซานี | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ |
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | คณะหน่วยงาน | |
23 | รศ.ดร.กรรณิการ์ | ม่วงชู | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
24 | อาจารย์วรีวรรณ์ | วิเศษสิงห์ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
25 | อาจารย์พิชญ์ชาญ | ศรีเจริญ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
26 | อาจารย์ ดร.ลาวัณย์ฉวี | สุจริตตานนท์ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
27 | อาจารย์ภภัสสร | สิงหธรรม | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
28 | ผศ.ดร.ดวงฤทัย | นิคมรัฐ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
29 | ผศ.นิภาพร | ปัญญา | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
30 | ผศ.เจทญา | กิจเกิดแสง | คณะศิลปศาสตร์ |
31 | อาจารย์สุจิตรา | ชนันทวารี | คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น |
32 | ผศ.วิภาดา | อำพนพรรณ | คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น |
33 | ผศ.ดร.เกษม | มานะรุ่งวิทย์ | คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น |
34 | ผศ.ดร.ศรัณย์ | จันทร์แก้ว | คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น |
35 | อาจารย์ ดร.จรัสพิมพ์ | วังเย็น | คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น |
36 | อาจารย์นฤพน | ไพศาลตันติวงศ์ | คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น |
37 | ผศ.ดร.ผกามาศ | ชูสิทธิ์ | คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม |
38 | อาจารย์วรรณภา | มโนสืบ | คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม |
39 | ผศ.ภาวนา | ชูศิริ |
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม |
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าตอบแทนวิทยากร 7,200 บาท
- ค่าใช้สอย 12,420 บาท
- รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 19,620 บาท
การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
เป้าหมายผู้เข้าอบรม บุคลากรสาย จำนวน 40 คน มีบุคลากรสายวิชาการเข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 39 คน โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินออนไลน์ จำนวน 35 คน และนำแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละของค่าเฉลี่ย เพื่อนำค่าเฉลี่ยไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ในการแปลความหมายของค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถาม
แบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละของค่าเฉลี่ย เพื่อนำค่าเฉลี่ยไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ในการแปลความหมายของค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถาม
ประเมินผลการฝึกอบรม
จากการศึกษาความพึงพอใจของการฝึกอบรมการใช้งานฐานข้อมูลอ้างอิงการวิจัย Reference Database สำหรับบุคลากร สายวิชาการ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบประเมิน
เพศ เพศหญิงตอบแบบสอบถามมากที่สุด จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 77.1 และเพศชายตอบแบบสอบถามจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 22.9
คณะ ที่ตอบแบบสอบถาม ตามลำดับ ดังนี้
- คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 10
- คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 10
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 30
- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 60
- คณะบริหารธุรกิจ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 60
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 70
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 70
- คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 70
- คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 00
แบบสอบถาม
การกำหนดค่าน้ำหนักของคะแนน
คะแนน 5 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
คะแนน 4 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
คะแนน 3 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
คะแนน 2 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
คะแนน 1 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
เกณฑ์สำหรับแปลผลคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถาม กำหนดไว้ดังนี้
4.51 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจ มากที่สุด
3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจ มาก
2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจ ปานกลาง
2.51 – 2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจ น้อย
ต่ำกว่า 1.5 หมายถึง มีความพึงพอใจ น้อยที่สุด
ส่วนที่ 2 สรุปผลการวิเคราะห์แบบประเมิน
- ด้านวิทยากร
ความพึงพอใจด้านวิทยากร ประกอบด้วยคำถาม 6 ด้าน พบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.73 โดยความพึงพอใจเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านความพร้อมของวิทยากร มีค่าเฉลี่ย 4.77 ด้านการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน มีค่าเฉลี่ย 4.69 ด้านการอธิบายเนื้อหา/ วิธีการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.66 ด้านมีความครบถ้วนของเนื้อหาในการอบรม มีค่าเฉลี่ย 4.83 ด้านการใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ย 4.71 และด้านการตอบข้อซักถาม มีค่าเฉลี่ย 4.71
- ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร
ความพึงพอใจด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร ประกอบด้วยคำถาม 3 ด้าน พบว่าผู้เข้าอบรมมีความ พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.74 โดยความพึงพอใจเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านความพร้อมของสถานที่ให้การจัดอบรม มีค่าเฉลี่ย 4.71 ด้านระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.69 และ ด้านอาหารมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.83
- ด้านความรู้ความเข้าใจ
ความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจ ประกอบด้วยคำถาม 2 ด้าน พบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.80 โดยความพึงพอใจเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านความรู้ ความเข้าใจ เรื่องนี้ ก่อน อบรม มีค่าเฉลี่ย 3.11 และด้านความรู้ ความเข้าใจเรื่องนี้ หลัง อบรม มีค่าเฉลี่ย 4.49
- ด้านการนำความรู้ไปใช้
ความพึงพอใจด้านการนำความรู้ไปใช้ ประกอบด้วยคำถาม 3 ด้าน พบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 โดยความพึงพอใจเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานได้ มีค่าเฉลี่ย 4.62 ด้านมีความมั่นใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้ มีค่าเฉลี่ย 4.53 และด้านสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ มีค่าเฉลี่ย 4.44
- ด้านความพึงพอใจต่อการจัดการโครงการ/อบรม
ความพึงพอใจด้านการนำความรู้ไปใช้ ประกอบด้วยคำถาม 4 ด้าน พบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.65 โดยความพึงพอใจเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการประชาสัมพันธ์โครงการ/อบรม มีค่าเฉลี่ย 4.33 ด้านรูปแบบการดำเนินโครงการ/อบรม มีค่าเฉลี่ย 4.67 ด้านหัวข้อที่จัดอบรมน่าสนใจ และตรงตามความต้องการ มีค่าเฉลี่ย 4.82 และด้านความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดโครง/อบรม มีค่าเฉลี่ย 4.79
สรุป ความพึงพอใจของบุคลากรสายวิชาการ ที่เข้าร่วมฝึกอบรมการใช้งานฐานข้อมูลอ้างอิงการวิจัย Reference Database สำหรับบุคลากรสายวิชาการ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49