ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศและนำออกให้บริการ (วัน : รายการ)
ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต
สูตรการคำนวณ
จำนวนสารสนเทศที่นำออกให้บริการทั้งหมด
จำนวนวันที่รับมอบถึงวันที่นำออกให้บริการ
เกณฑ์การประเมิน :
คะแนน 1 |
คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
เวลาเฉลี่ยมากกว่า 16 วัน |
เวลาเฉลี่ย14-16 วัน | เวลาเฉลี่ย 11-13 วัน | เวลาเฉลี่ย 8-10 วัน | เวลาเฉลี่ยน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 วัน |
ผลการดำเนินงาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มงานห้องสมุดประกอบไปด้วยห้องสมุด 4 แห่ง ได้แก่ห้องสมุดเทเวศร์ ห้องสมุดโชติเวช ห้องสมุดพระนครเหนือ และห้องพณิชยการพระนคร ดำเนินการจัดหาสารสนเทศด้วยวิธีสอบราคาให้เป็นไปตามระเบียบพัสดุ ทั้งนี้ในการสอบราคาหนังสือในปีงบประมาณ 2554 ได้สรุปผลการจัดซื้อให้กับทุกบริษัทที่ได้เข้าสอบราคา ในช่วงเดือน เมษายน 2554 และได้ดำเนินการจัดส่งตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 และยังมีบางบริษัทที่จัดส่งหนังสือล่าช้าจึงทำให้ได้รับหนังสือล่วงเลยมาจนถึงเดือน เมษายน 2555 ดังนั้น จำนวนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด มทร.พระนคร ที่ได้รับนับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 จึงสรุปรวมได้ 1,287 ชื่อเรื่อง
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งปัญหาที่พบจากการใช้โปรแกรมยังคงมีอยู่มากโดยเฉพาะในส่วนของการพิมพ์รายงานการบันทึกข้อมูลในระบบของงานพัฒนาและงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อควบคุมระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ได้รับทรัพยากรจนถึงวันที่นำออกให้บริการไม่สามารถคำนวณออกมาได้อย่างชัดเจนด้วยโปรแกรม Walai AutoLIB ดังนั้นห้องสมุดจึงได้ทำแบบฟอร์มเพื่อควบคุมระยะเวลาในการดำเนินงานขึ้น โดยใช้ วันที่ เดือน ปี ที่ปรากฏในระบบจัดเก็บจากโปรแกรม Walai AutoLIB มาคำนวณหาเวลาเฉลี่ยในการดำเนินงาน
สรุปกลุ่มงานห้องสมุด มทร.พระนคร ใช้เวลาดำเนินการตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศและนำออกให้บริการเฉลี่ย 3.3 วัน ต่อ 1 ชื่อเรื่อง
รายการ |
หน่วย |
จำนวน |
|
ตัวตั้ง | จำนวนวันที่รับมอบถึงวันที่นำออกให้บริการ |
วัน |
4,270 |
ตัวหาร | จำนวนสารสนเทศที่นำออกให้บริการทั้งหมด |
รายการ |
1,287 |
ผล | เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการต่อ 1 รายการ |
วัน |
3.3 |
เป้าหมาย | เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการต่อ 1 รายการ |
วัน |
10 |
ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย (วัน) |
4 เดือน (1 มิย.54-30 กย.54) |
8 เดือน (1 มิย. 54-31 มค. 55) |
12 เดือน (1 มิย. 54-31 พค. 55) |
การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน |
||||||
12 เดือน งปม. 53 (1 ตค.53-30 กย. 54) |
6 เดือน งปม. 54 (1 ตค.54-31 มีค. 55) |
9 เดือน งปม. 54 (1 ตค.54-31 พค. 55) |
[ ] |
[ ] |
[√] |
|||||
ผล |
คะแนน | ผล |
คะแนน |
ผล |
คะแนน |
ต่ำกว่าเป้าหมาย | เท่ากับเป้าหมาย |
สูงกว่าเป้าหมาย |
||
10 | N/A | N/A | N/A | N/A |
3.3 |
5 |
รายการหลักฐาน (ใส่รหัสเอกสาร และชื่อหลักฐาน)
สวท.3.2-1-1 Work Flow งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
สวท.3.2-1-2 Work Flow งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
สวท.3.2-1-3 ตัวอย่างผลการบันทึกข้อมูลของงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
สวท.3.2-1-4 รายการทรัพยากรและระยะเวลาในการดำเนินงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ 2554
จุดแข็ง
- บรรณารักษ์ห้องสมุด สามารถดำเนินงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศได้ทันกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
- มีความร่วมมือกันเป็นอย่างดีในกลุ่มงานห้องสมุดมทร.พระนครทั้ง 4 แห่ง จึงทำให้การทำงานบรรลุผลสำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี
จุดที่ควรพัฒนา
- ควรมีการปรับปรุงโปรแกรม Walai AutoLIB ให้สามารถบันทึกและควบคุมระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ได้รับทรัพยากรจนถึงวันที่นำออกให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- คงมีรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ยังค้างอยู่ในระบบมาก คือมีรายการชื่อเรื่องซ้ำ บางชื่อเรื่องไม่มีตัวเล่มเพราะได้ผนวกรวมกับศูนย์อื่นที่มีชื่อหนังสือเหมือนกันแล้วแต่ชื่อเรื่องยังไม่ลบออกจากระบบ เกิดจากการถ่ายโอนข้อมูลจากระบบเก่าเข้าสู่ระบบใหม่เป็น โปรแกรม Walai AutoLIB ทำให้จำนวนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดมีจำนวนมากเกินความเป็นจริง
แนวทางแก้ไข สนับสนุนและแผนการพัฒนาส่งเสริมจากผลการประเมินตนเองตามมาตรฐาน มทร.พระนคร ปีการศึกษา 2554 | ||
แผน/โครงการ/กิจกรรม | ผู้รับผิดชอบ | งปม./ระยะเวลาดำเนินการ |
แผนส่งเสริม 1. มีการวางแผนและพัฒนาโปรแกรม Walai AutoLIB งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ให้สามารถควบคุมระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ได้รับทรัพยากรจนถึงวันที่นำออกให้บริการ 2. มีการสำรวจจำนวนทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดของห้องสมุดให้ตรงกับความเป็นจริง |
|
2555 |
แผนสนับสนุน 1. ติดต่อประสานงานกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อปรับปรุงโปรแกรม Walai AutoLIB ให้สามารถบันทึกข้อมูลเพื่อควบคุมเวลาตั้งแต่ตรวจรับและนำทรัพยากรสารสนเทศออกให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีการวางแผนและพัฒนาระบบให้อำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น |
2555 |