แนวปฏิบัติที่ดี ปี 2555

เรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพ

เจ้าของผลงาน   นายกฤษณ์ จำนงนิตย์

สังกัด  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทส

ประเด็นความรู้  

เรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพ

ความเป็นมา    

ทุกวันนี้กล้องดิจิตอลแพร่หลายมีให้เลือกใช้กันอยู่มากมาย การถ่ายภาพนั้นก็ง่ายจนแม้แต่เด็กๆ ก็ยังสามารถใช้งานถ่ายภาพได้ ซึ่งต่างไปจากยุคของกล้องฟิล์มที่การถ่ายภาพดูจะเป็นเรื่องยุ่งยากตั้งแต่การเลือกฟิล์ม การใส่ฟิล์ม หรือแม้แต่ถ่ายภาพเสร็จแล้วบางคนยังไม่รู้ว่าจะเอาฟิล์มออกจากกล้องเพื่อนาไปล้างได้อย่างไร

แต่แม้กระนั้นคนถ่ายภาพมือใหม่ ที่ต้องการการถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ดี มีคุณภาพ ก็ยังมีความจาเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ยิ่งวันนี้การถ่ายภาพเป็นระบบดิจิตอล ที่สามารถนาภาพมาปรุงแต่งได้ด้วยตัวเองแล้ว การศึกษาและติดตามให้ทันกับเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งจาเป็น

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งกับการถ่ายภาพด้วยกล้องที่ใช้ฟิล์มจนถึงกล้องดิจิตอล ทาให้พบว่าถ้าเป็น มือใหม่ หัดถ่ายภาพแล้ว มักจะเกิดปัญหาในเรื่องการถ่ายภาพที่มีส่วนคล้ายคลึงกัน นั่นก็คือ ทาไมภาพถ่ายที่เราถ่ายได้นั้นก็ดูสวยดี แต่เมื่อมีการนาไปเปรียบเทียบกับภาพถ่ายของคนอื่นแล้ว ความงามที่ว่าของเราสวยแล้วจึงเสียเปรียบภาพของคนอื่นๆ ซึ่งเรื่องเช่นนี้สิ่งหนึ่งที่คนเพิ่งเริ่มถ่ายภาพใหม่ๆ ประสบก็คือ ตั้งแต่เรื่องการเลือกหาซื้อกล้องถ่ายภาพ เมื่อซื้อกล้องกันมาแล้วก็ลงมือศึกษาแบบไม่ถ้วนถี่ แล้วก็ถ่ายภาพกันเลย สิ่งหนึ่งที่ปัจจุบันนี้กล้องช่วยได้มากก็คือ ระบบถ่ายภาพอัตโนมัติที่ก้าวหน้าและใช้งานได้ง่ายขึ้นจึงทาให้ได้ภาพที่มีค่าแสงค่อนข้างดีใช้งานได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็พอจะผ่านไปได้ ปัญหาประการต่อมาก็คือเรื่ององค์ประกอบภาพที่บางท่านอาจจะมีพรสวรรค์ก็พอจะเอาตัวรอดไปได้ แต่สาหรับคนที่คิดเรื่องศิลปะน้อยหน่อยก็ได้ภาพที่พอดูได้เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วเราเพิ่งเป็น มือใหม่ หัดถ่ายภาพ ควรจะทาอย่างไรเพื่อให้สามารถถ่ายภาพที่มีคุณภาพได้ จะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย ขึ้นกับตัวเราเองนะแหละว่าต้องการถ่ายภาพให้ดีขึ้นหรือไม่ก็เคยเกิดขึ้นเมื่อผมเริ่มการถ่ายภาพใหม่ๆ เช่นกัน

   

วิธีดำเนินการ

เรียนรู้เรื่องกล้องถ่ายภาพและการถ่ายภาพ

สิ่งแรกที่คุณควรทำความเข้าใจก่อนว่า การถ่ายภาพนั้นง่ายก็จริงอยู่ เพราะว่าวันนี้กล้องถ่ายภาพได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้ง่าย และทำให้แม้แต่คนที่ถ่ายภาพไม่เป็นก็สามารถใช้กล้องถ่ายภาพได้ทันที แต่อย่างไรก็ตาม การถ่ายภาพนั้นก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่ควรต้องเรียนรู้ เพื่อให้เข้าถึงการทำงานของทั้งระบบกล้องถ่ายภาพ และการถ่ายอย่างไรจึงจะได้ภาพที่มีคุณภาพสูง

กล้องถ่ายภาพ เป็นด่านแรกที่ทุกคนต้องเลือกหาซื้อมาใช้งาน การทำความเข้าใจตั้งแต่ชนิดของกล้องถ่ายภาพ เช่น กล้องคอมแพค เป็นอย่างไร กล้อง D-SLR คือ อย่างไร เลนส์ที่ใช้งาน อย่างไหนเป็นเลนส์เกรดธรรมดา อย่างไหนเป็นเลนส์เกรดสูงที่จะช่วยให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูง ไล่ไปจนถึงสมรรถนะของกล้อง ระบบวัดแสง ระบบความไวแสงในการปรับตั้ง ระบบ White balance ที่ต้องปรับตั้งเพื่อให้ได้สีภาพที่ถูกต้อง จนกระทั้งระบบถ่ายภาพว่ากล้องมีอะไรให้ใช้งานบ้าง สิ่งเหล่านี้ครับ คือ สิ่งที่มือใหม่ หัดถ่ายภาพ ควรจะต้องเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้งานได้เต็มสมรรถนะที่กล้องมีมาให้ใช้งาน แน่นอนว่าแล้วความรู้เหล่านี้นั้นมาจากไหน แหล่งที่ใช้สำหรับหาความรู้เหล่านี้นั้น สำหรับวันนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็นแต่ประการใด เข้าไปในเวปไซต์ของกล้องแต่ละยี่ห้อก็มีให้เลือกค้นคว้าได้แล้ว ที่อาจจะเป็นปัญหาก็คือเรื่องภาษาที่ใช้ในเว็ปไซท์เท่านั้น แต่ก็มีหลายเว็ปไซท์เช่นกันที่เป็น

ภาษาไทยให้เลือกหาอ่านได้อย่างสบายใจ หรือในเชิงลึกสำหรับกล้องรุ่นเด่นๆ นั้นก็อาจจะหาดูได้ตามแม็กกาซีนที่มีการทดสอบให้ได้ดูกันแทบทุกเดือน เรียนเรื่องการถ่ายภาพ อย่างที่บอกไว้แล้วแต่แรกนั่นคือ การถ่ายภาพยังไง ยังไง ก็เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการการเรียนรู้ การเรียนรู้จะทำให้เมื่อเกิดปัญหาเราสามารถที่จะหาวิธีแก้ปัญหาได้ ไม่ใช่ว่าถ่ายภาพมามืดไป สว่างไป มันเกิดจากอะไรหว่า….ในเรื่องการเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพนั้น ควรจะรู้อะไรบ้าง ถ้าต้องเรียนรู้ทั้งหมดหลายท่านก็คงจะหมดอารมณ์ที่จะถ่ายภาพแล้ว สิ่งที่ควรจะต้องเรียนรู้จริงๆนั้น ก็คือเรียนรู้ให้ถ่ายภาพอย่างไรจึงจะได้ภาพที่มีความคมชัดเป็นประการแรกเรียนรู้ว่าถ่ายภาพอย่างไรจึงจะได้ค่าแสงที่ดีเป็นเรื่องที่สอง และเรียนรู้ว่าถ่ายภาพอย่างไรจึงจะควบคุมให้ได้ภาพที่มีสีถูกต้องหรือควบคุมสีได้ตามต้องการ

ทำอย่างไรจึงจะถ่ายภาพให้คมชัดเรื่องถ่ายภาพไม่ชัดนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุอยู่ ๒ ประการด้วยกัน หนึ่งคือ โฟกัสไม่ชัด ซึ่งอาจจะเกิดจากการปรับระยะโฟกัสไม่ชัดเองของผู้ใช้ที่เลือกการปรับโฟกัสเป็นแบบ Manual หรือการใช้ระบบปรับโฟกัสอัตโนมัติ [AF] ที่ไม่ถูกต้องก็เป็นได้ ซึ่งการศึกษาถึงเรื่อง ระบบการปรับระยะชัดของกล้อง ใช้งานให้ถูกต้องก็จะช่วยแก้ปัญหาหรือลดปัญหานี้ให้น้อยลงได้ อีกประการหนึ่งสาหรับเรื่องการถ่ายภาพไม่ชัดก็คือเรื่อง ถ่ายภาพไหว ถ้าถ่ายภาพแล้วเกิดอาการภาพไหว ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาพไม่ชัด อาการนี้เกิดจากเรื่องความไวชัตเตอร์ที่ต่าเกินไป ซึ่งอาจจะมาจากสภาพแสงที่ไม่อำนวย แล้วจำเป็นต้องถ่ายที่ความไวชัตเตอร์ต่ำ หรือแม้แต่ระบบถ่ายภาพอัตโนมัติที่บังเอิญเลือกความเร็วที่ชัตเตอร์ต่ำ ก็อาจจะทำให้ภาพไหวได้ การแก้ไขด้วยการใช้ขาตั้งกล้องเป็นวิธีหนึ่งที่แก้ได้ แต่ถ้ามีการเรียนรู้เราก็จะพบว่ามีวิธีอื่นๆ อีกที่จะแก้ไขได้

ทำอย่างไรจึงจะถ่ายภาพให้ได้ค่าแสงที่ถูกต้อง เรื่องต่อมาก็คือถ่ายภาพมามืดไปสว่างไป ปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานของระบบวัดแสงในกล้องและระบบถ่ายภาพที่เลือกใช้งานที่บังเอิญเกินขีดสมรรถนะของกล้อง สิ่งที่ต้องเรียนรู้ก็คือ เรื่องการทำงานของระบบวัดแสง ว่ากล้องมีระบบวัดแสงให้เลือกใช้งานได้อย่างไร และระบบวัดแสงแต่ละชนิดทำงานอย่างไร อย่างเช่น ระบบวัดแสงแบบ Spot วัดแสงเฉพาะจุดเท่านั้นเป็นต้น สำหรับในเรื่องระบบถ่ายภาพนั้น ทุกวันนี้กล้องส่วนใหญ่จะมีระบบถ่ายภาพให้เลือกมากกว่า ๑ ระบบ จึงควรทำความเข้าใจถึงวิธีทางานของระบบถ่ายภาพแต่ละแบบ เช่นระบบถ่ายภาพ แบบโปรแกรมถ่ายภาพอัตโนมัติ [P] หรือระบบถ่ายภาพแบบ Shutter Priority AE [S/Tv] นั้นทำงานอย่างไรเพื่อใช้งานประเภทไหน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถควบคุมความสว่างของภาพได้ตามต้องการ รวมทั้งรู้จักวิธีการชดเชยแสงว่าใช้งานอย่างไร

ทำอย่างไรจึงจะควบคุมให้ได้สีภาพที่ถูกต้องได้ตามต้องการ สำหรับกล้องดิจิตอลนั้นการควบคุมสีของภาพให้ได้ถูกต้องนั้นขึ้นกับการปรับตั้ง White balance ซึ่งเป็นปรับตั้งกล้องเพื่อให้ถ่ายภาพตามชนิดของแสงได้อย่างถูกต้อง แต่ในเรื่องความสดใสของสีภาพนั้น ยังขึ้นกับเรื่องอื่นๆ อีกหลายประการอย่างเช่น การปรับตั้ง parameter สีของกล้อง หรือการเลือกใช้เลนส์ที่มีคุณภาพสูงก็จะให้ความอิ่มตัวของสีภาพสูงเป็นต้น

เรียนรู้เรื่ององค์ประกอบภาพและ ศิลปะ

เมื่อเรียนรู้เรื่องกล้องถ่ายภาพและเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพแล้ว ขอแนะนำว่าให้ลองใช้งานจนช่ำช่องเกิดความชำนาญ สามารถควบคุมคุณภาพเรื่อง ความคมชัด สีสันของภาพ ความมืดสว่างของภาพได้เป็นอย่างดีแล้ว ประการต่อมานั่นคือ การหาประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบภาพ จนก้าวไกลไปถึงศิลปะการถ่ายภาพ เพื่อทำให้ภาพที่ถ่ายได้นั้นมีคุณภาพทั้งในด้านคุณภาพของรูปถ่าย และคุณค่าของศิลปะการถ่ายภาพ

สำหรับศาสตร์ด้านการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายนั้น สามารถเรียนรู้ได้จากตำรับตำราสารพัดที่มีให้ดูกันในตลาด แม้แต่บทความแทรกในนิตยสารถ่ายภาพก็มีให้เสมอๆ และนั่นคือสิ่งที่เริ่มต้นสาหรับการเรียนรู้ที่จะถ่ายภาพให้มีองค์ประกอบภาพที่ดี เมื่อท่านถ่ายภาพจนเกิดความชำนาญแล้ว ต่อจากนี้ก็จะเป็นเรื่องของศิลปะ ซึ่งจะทาให้สามารถใช้กล้องถ่ายภาพสร้างสรรค์ศิลปะตามที่ท่านนึกคิดให้กว้างไกล หรือเป็นแนวทางของเราเองก็ย่อมทำได้

ที่กล่าวมานี้หลายท่านอาจจะบอกว่าพูดเป็นกำปั้นทุบดิน ซึ่งผมเองก็ไม่เถียงเหมือนกัน เรื่องศิลปะการถ่ายภาพนั้นเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เสมอ ไม่ใช่เฉพาะนักถ่ายภาพ แต่ก็ยังรวมกันไปถึงวงการประกวดภาพ ซึ่งส่วนตัวแล้วผมถือว่าศิลปะการถ่ายภาพเป็นเรื่องที่เถียงกันยากครับ

แต่ก็มีวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลและผมก็นามาใช้ร่วมกับนักถ่ายภาพด้วยกัน และสามารถช่วยให้พัฒนาการในด้านการถ่ายภาพก้าวหน้าได้เร็ว และเรียนลัดกันเลยได้ นั่นคือ เริ่มต้นด้วยการดูศึกษารูปถ่ายที่มีคุณภาพของคนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการถ่ายภาพก่อนที่จะพัฒนาแนวทางถ่ายภาพของตนเองเมื่อมีความชำนาญแล้ว สิ่งต่อมาก็คือการรวมพลคนชอบถ่ายภาพไปร่วมงานการถ่ายภาพด้วยกันอยู่เสมอๆ แล้วนำภาพที่ถ่ายได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองกัน ซึ่งส่วนนี้จะช่วยพัฒนาการถ่ายภาพและมุมมองที่กว้างไกลมากขึ้น ในสถานที่เดียวกันเมื่อไปถ่ายภาพ แต่ละคนอาจจะมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน การนำภาพมาแลกเปลี่ยนมุมมองทำให้สามารถสร้างสรรค์ความคิดในการถ่ายภาพได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพ ที่ยังไม่รู้ว่าวันนี้จะเริ่มต้นกันอย่างไร แนวความคิดดังกล่าวนี้คงจะเป็นแนวทางให้คนที่กำลังริเริ่มต้องการถ่ายภาพได้เป็นแนวทางที่จะเรียนรู้การถ่ายภาพได้อย่างไรคงไม่สามารถที่จะบอกว่าเรียนถ่ายภาพแป๊ปเดียวก็สามารถถ่ายภาพอย่างมือโปรได้ การถ่ายภาพต้องเรียนรู้และฝึกฝน จึงจะสามารถถ่ายภาพคุณภาพสูงได้ มิฉะนั้นก็จะได้ภาพถ่ายที่เป็นเพียงภาพบันทึกธรรมดาๆ เท่านั้น

 

ผลสัมฤทธิ์       

ได้องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการถ่ายภาพ ได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบของภาพและศิลปะ เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการถ่ายภาพในงานพิธีต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ให้มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน และเป็นขั้นตอนที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ มีระบบและกลไกการเตรียมความพร้อมสำหรับการถ่ายภาพในงานพิธีต่างๆ เพื่อให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพในงานพิธีต่างๆได้

 

ปัจจัยความสำเร็จ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จเกิดจากใฝ่หาความรู้ของบุคลากรในหน่วยงาน เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์งานได้ตรงกับความต้องการด้วยงบประมาณที่จำกัด และลดการสูญเสียทรัพยากร