SAR Dir 2.4

ตัวชี้วัดที่ 2.4  ระบบและกลไกการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล

เกณฑ์มาตรฐาน :

[  ] ระดับที่ 0 : ไม่แสดงสมรรถนะด้านนี้อย่างชัดเจน
[√] ระดับที่ 1 : มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่ระบุถึงบทบาท ภารกิจ กลยุทธ์ ที่บ่งบอกถึงจุดมุ่งเน้นในการดำเนินงานที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไว้อย่างชัดเจน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างคุ้มค่า เป็นธรรม อย่างโปร่งใส
[√] ระดับที่ 2 : มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของผลงานด้านต่างๆ พร้อมทั้งการติดตามประเมินผลสำเร็จความก้าวหน้าเพื่อให้สามารถแสดงออกถึงความรับผิดรับชอบต่อผลสำเร็จของงานอย่างโปร่งใส เป็นธรรม
[√] ระดับที่ 3 : มีการบริหารปรับปรุงกระบวนงานต่างๆ ให้รวดเร็ว กระชับ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพคุ้มค่า มีการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ว่ามีความคุ้มค่า ประหยัด  และมีความพยายามที่จะบริหารต้นทุนเหล่านั้นอย่างโปร่งใสชัดเจน
[√] ระดับที่ 4 : มีความพยายามที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ  ความรวดเร็ว ตลอดจนคุณภาพมาตรฐานในการดำเนินงานอย่างพอเพียง
[√] ระดับที่ 5 : มีการบริหารคุณภาพที่สามารถบอกได้ถึงความพยายามในการปรับปรุงคุณภาพและ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศ
[√] ระดับที่ 6 : มีการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้เขามีความรู้ความสามารถ ขีดสมรรถนะความสำเร็จก้าวหน้าและความสุขในงานได้อย่างเป็นระบบ โปร่งใส เป็นธรรม

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ

ระดับ 0

มีการดำเนินการระดับ 1 มีการดำเนินการระดับ 2 มีการดำเนินการระดับ 3 มีการดำเนินการระดับ 4

ผลการดำเนินการ :

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีระบบและกลไกการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล ดังต่อไปนี้

  1. นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี โดยหลักธรรมาภิบาล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. รายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการและกิจกรรมตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี มทร.พระนคร
  3. มีการประเมินผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านการดูแลองค์การตามหลักธรรมาภิบาล ประจำปีการศึกษา 2553 ผลการประเมินอยู่ที่ระดับ 4.64

ผลการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐาน

ระดับที่ 1

มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่ระบุถึงบทบาท ภารกิจ กลยุทธ์ ที่บ่งบอกถึงจุดมุ่งเน้นในการดำเนินงานที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไว้อย่างชัดเจน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างคุ้มค่า เป็นธรรม อย่างโปร่งใส

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ ที่ระบุถึงบทบาท ภารกิจ     กลยุทธ์ ที่บ่งบอกถึงจุดมุ่งเน้นในการดำเนินงานที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชน บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไว้อย่างชัดเจน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างคุ้มค่า เป็นธรรม อย่างโปร่งใส อยู่ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับ พ.ศ. 2554-2557) และแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวท. 2.4-1-1), (สวท. 2.4-1-2)

ระดับที่ 2

มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของผลงานด้านต่างๆ พร้อมทั้งการติดตามประเมินผลสำเร็จความก้าวหน้าเพื่อให้สามารถแสดงออกถึงความรับผิดรับชอบต่อผลสำเร็จของงานอย่างโปร่งใส เป็นธรรม

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของผลงานด้านต่างๆ พร้อมทั้งการติดตามประเมินผลสำเร็จความก้าวหน้าเพื่อให้สามารถแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของงานอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตามนโยบาย/ตัวบ่งชี้เฉพาะ (KPI) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวท. 2.4-2-1)

ระดับที่ 3

มีการบริหารปรับปรุงกระบวนงานต่างๆ ให้รวดเร็ว กระชับ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพคุ้มค่า มีการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ว่ามีความคุ้มค่า ประหยัด  และมีความพยายามที่จะบริหารต้นทุนเหล่านั้นอย่างโปร่งใสชัดเจน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการปรับปรุงกระบวนงานต่างๆ ให้รวดเร็ว กระชับ โปร่งใส และมีประสิทธิภาพคุ้มค่า มีการวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ว่ามีความคุ้มค่า ประหยัด  และมีความพยายามที่จะบริหารต้นทุนเหล่านั้นอย่างโปร่งใสชัดเจน โดยเสนอมหาวิทยาลัยฯ ให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานทุกกิจกรรม  ซึ่งมีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติ และโปร่งใส กับกลุ่มผู้ใช้และผู้รับบริการ ทุกระดับของมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งการให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับกองคลัง กองนโยบายและแผน กองบริหารงานบุคคล จึงได้จัดทำโครงการพัฒนา ระบบงานการวางแผนทรัพยากรของมหาวิทยาลัย (Enterprise Resource Planning : ERP)  ระบบงานการวางแผนและการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัย (Budget Planning and Management : BPM)     และระบบงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัย (Human Resource Management : HRM)      โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานให้มีความก้าวหน้า ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยฯ ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มสมรรถนะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีความถูกต้อง แม่นยำ มีความสมบูรณ์ โปร่งใส และเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริหารได้รับทราบข้อมูลอย่างรวดเร็ว ในการประกอบการตัดสินใจ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานให้แก่เจ้าหน้าที่

ระดับที่ 4

มีความพยายามที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ  ความรวดเร็ว ตลอดจนคุณภาพมาตรฐานในการดำเนินงานอย่างพอเพียง

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพยายามที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ  ความรวดเร็ว ตลอดจนคุณภาพมาตรฐานในการดำเนินงานอย่างพอเพียงได้แก่การพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาใช้งานเองในมหาวิทยาลัย จัดหาอุปกรณ์สแกนเนอร์ให้กับหน่วยงานที่ยังไม่มีและฝึกอบรมการใช้งาน จนมีการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย

ระดับที่ 5

มีการบริหารคุณภาพที่สามารถบอกได้ถึงความพยายามในการปรับปรุงคุณภาพและ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาระบบงานขึ้นมาใช้งาน เพื่อการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่ความเป็นเลิศ เช่น

ระบบติดตามการพัฒนาคุณภาพภายใน (IQA)

ระบบติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ

ระบบบันทึกภาระงาน

ระบบประเมินการปฏิบัติราชการของผู้บริหาร

ระบบประเมินการเรียนการสอนออนไลน์

ระบบประเมินสมรรถนะบุคลากร

ระบบภาวะการมีงานทำของบัณฑิต

ระบบประเมินการดูแลองค์การตามหลักธรรมาภิบาล

ระบบประเมินความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร

ระดับที่ 6

มีการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้เขามีความรู้ความสามารถ ขีดสมรรถนะความสำเร็จก้าวหน้าและความสุขในงานได้อย่างเป็นระบบ โปร่งใส เป็นธรรม

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนพัฒนาบุคลากร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ 2553 เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ เพิ่มสมรรถนะ ทำให้บุคลากรมีความสำเร็จก้าวหน้าและมีความสุขในงานได้อย่างเป็นระบบ โปร่งใส เป็นธรรม (สวท. 2.4-6-1)

ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย :

ค่าเป้าหมาย

(คะแนน)

6 เดือน *

(2 สค.53 – 1 กพ.54)

12 เดือน

(2 สค.53 – 1 สค.54)

การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน

[√]

ผล

คะแนน

ผล

คะแนน

ต่ำกว่าเป้าหมาย

เท่ากับเป้าหมาย

สูงกว่าเป้าหมาย

4

6

5

รายการหลักฐาน :

สวท. 2.4-1-1 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับ พ.ศ. 2554-2557)

สวท. 2.4-1-2 แผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map) ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สวท. 2.4-6-1 แผนพัฒนาบุคลากร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ 2553

Leave a Reply