SAR Dir 2.3.1

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3.1 ระดับความสำเร็จของผลการพัฒนาคุณภาพตามตัวบ่งชี้ของหน่วยงาน

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

ระดับ 0

มีการดำเนินการ

ระดับ 1.5

มีการดำเนินการ

ระดับ 2.5

มีการดำเนินการ

ระดับ 3.5

มีการดำเนินการ

ระดับ 4.5

ผลการดำเนินการ :

ตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาภายใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวบ่งชี้คุณภาพด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร  หมายถึง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์   ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสำนัก วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพการดำเนินงานและการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม การกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการพัฒนาคุณภาพ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแบ่งเป็น 9 องค์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย 22 องค์ประกอบย่อย และ 50 ตัวบ่งชี้คุณภาพ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินการ (1 ตัวบ่งชี้)
องค์ประกอบที่ 2 ภารกิจหลักด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (4 องค์ประกอบย่อย 10 ตัวบ่งชี้)
องค์ประกอบที่ 3 ภารกิจหลักด้านการบริการห้องสมุด (4 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้)
องค์ประกอบที่ 4 ภารกิจหลักด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (3 องค์ประกอบย่อย 9 ตัวบ่งชี้)
องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม (2 ตัวบ่งชี้)
องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (1 ตัวบ่งชี้)
องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ (11 องค์ประกอบย่อย 12 ตัวบ่งชี้)
องค์ประกอบที่ 8 ด้านเครือข่ายความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (1 ตัวบ่งชี้)
องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ (1 ตัวบ่งชี้)

องค์ประกอบ องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินการ

1.1  กระบวนการพัฒนาแผน

องค์ประกอบที่ 2 ภารกิจหลักด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.1  ร้อยละของเส้นทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ครอบคลุมไปถึงทุกคณะและทุกหน่วยงาน

2.2  ระดับประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในมหาวิทยาลัย

2.3  ระดับประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับภายนอก

2.4 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในมหาวิทยาลัย

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ

2.5 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอุดมศึกษาด้านนักศึกษา บุคลากร หลักสูตร และการเงินอุดมศึกษา และระบบฐานข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต

2.6 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการภายในสถาบันอุดมศึกษา

การพัฒนาระบบงานสารสนเทศ

2.7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

2.8 จำนวนระบบงานสารสนเทศที่มีการปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่

2.9 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ

ความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ

2.10 ระดับความสำเร็จของความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ

องค์ประกอบที่ 3 ภารกิจหลักด้านการบริการห้องสมุด

การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

3.1  งบประมาณ ในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า

การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

3.2 เวลาเฉลี่ยในการดำเนินการตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศและนำออกให้บริการ

3.3 ศักยภาพของระบบฐานข้อมูลที่ห้องสมุดพัฒนา

การบริการสารสนเทศ

3.4 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการห้องสมุด

3.5 ร้อยละของข้อร้องเรียนที่ได้รับการแก้ไข

3.6 ปริมาณการยืมทรัพยากรสารสนเทศ ต่อจำนวนผู้ใช้บริการที่มีสิทธิ์ยืม

3.7 ร้อยละของปริมาณการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น

3.8 จำนวนการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว (One Stop Service)

3.9 จำนวนบริการเชิงรุก (Proactive Service)

3.10 จำนวนบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)

3.11 ค่าใช้จ่ายของการบริการห้องสมุดต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า

การพัฒนาศักยภาพของผู้ใช้บริการ

3.12 ร้อยละของผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3.13 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

องค์ประกอบที่ 4 ภารกิจหลักด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

4.1  จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ Video On Demand ที่ผลิตได้เสร็จสมบูรณ์

4.2 จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Learning ที่ผลิตได้เสร็จสมบูรณ์

การบริการนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

4.3 จำนวนครั้งของการเข้าใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ Video On Demand

4.4 จำนวนครั้งของการเข้าใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Learning

4.5 จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Learning ที่นำไปใช้เพื่อการเรียนการสอน

4.6 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

4.7 จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการจดลิขสิทธิ์

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ใช้บริการ

4.8 จำนวนผู้ใช้บริการที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการใช้และผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์

4.9 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการใช้และผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์

องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม

5.1 จำนวนกิจกรรม / โครงการที่ให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม / ชุมชน

5.2 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม/ชุมชน

องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

6.1 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ

แผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการ

7.1 การดำเนินการด้านแผนกลยุทธ์หรือแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน

7.2 ร้อยละของความสำเร็จของแผนปฏิบัติการประจำปี

งบประมาณ

7.3 ร้อยละของงบดำเนินการของหน่วยงานต่องบดำเนินการของมหาวิทยาลัย

การพัฒนาบุคลากร

7.4 ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

7.5 ร้อยละของงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคลากรต่องบดำเนินการของหน่วยงาน

การพัฒนาสถานที่ให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้

7.6 การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้

7.7 การจัดการด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน

การบริหารความเสี่ยง

7.8 การบริหารจัดการความเสี่ยง

การจัดการความรู้

7.9 การพัฒนาสู่องค์กรการเรียนรู้

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

7.10 ศักยภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

การประชาสัมพันธ์

7.11 จำนวนช่องทางการประชาสัมพันธ์

การวิจัยและพัฒนา

7.12 ร้อยละของงานวิจัย / ผลงานทางวิชาการ / ระบบงานสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นเองและนำไปใช้ประโยชน์หรือมีการเผยแพร่เทียบกับจำนวนบุคลากรตำแหน่งวิชาชีพ

องค์ประกอบที่ 8 ด้านเครือข่ายความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

8.1 การใช้ทรัพยากรร่วมกัน

องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

9.1 ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์ในการประเมินคุณภาพตามตัวบ่งชี้คุณภาพสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อให้การประเมิน คุณภาพตามคุณภาพ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแนวทางการตัดสิน ผลการประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดคะแนนการประเมินแต่ละตัวบ่งชี้เป็นข้อละ 2 คะแนน รวมจำนวนทั้งหมด 50 ตัวบ่งชี้ คิดเป็นคะแนนเต็มรวม 100 คะแนน และคำนวณผลการประเมินจากคะแนนรวมของตัวบ่งชี้ทั้งหมดหารด้วยจำนวนตัวบ่งชี้ ส่วนเกณฑ์การประเมินผลพิจารณาจากค่าเฉลี่ยผลการประเมิน 5 ช่วงคะแนน ดังนี้

ช่วงคะแนน ผลการประเมิน
4.51-5.00 ระดับดีมาก
3.51-4.50 ระดับดี
2.51-3.50 ระดับพอใช้
1.51-2.50 ระดับควรปรับปรุง
1.00-1.50 ระดับต้องปรับปรุง

รอบของการประเมินปีการศึกษา 2553 หมายถึง ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2553 ถึง 31 พฤษภาคม 2554และปีงบประมาณ หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554

ประเมินตนเอง/การบรรลุเป้าหมาย :

ค่าเป้าหมาย

(คะแนน)

6 เดือน *

(2 สค.53 – 1 กพ.54)

12 เดือน

(2 สค.53 – 1 สค.54)

การบรรลุเป้าหมาย 12 เดือน

[√]

ผล

คะแนน

ผล

คะแนน

ต่ำกว่าเป้าหมาย

เท่ากับเป้าหมาย

สูงกว่าเป้าหมาย

3.5

4.76

5

รายการหลักฐาน :

สวท. 2.3.1-1-1 ระบบติดตามการพัฒนาคุณภาพภายใน (IQA)

สวท. 2.3.1-1-2 นโยบาย ตัวบ่งชี้เฉพาะ (KPI) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

สวท. 2.3.1-1-3 คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2553 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

Leave a Reply