เกี่ยวกับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้สถาปนาขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ประกอบด้วยวิทยาเขต 5 แห่งได้แก่ วิทยาเขตเทเวศร์, วิทยาเขตโชติเวช, วิทยาเขตพณิชยการพระนคร, วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และวิทยาเขตพระนครเหนือ ข้อมูลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดิม แต่ละวิทยาเขต ได้ใช้เทคโนโลยี ของ Cisco System โดยใช้ Router เป็นอุปกรณ์ค้นหาเส้นทางเชื่อมต่อผ่าน Leased Line มี Bandwidth ขนาด 2 Mb ต่อไปที่ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ดำเนินการ จดโดเมนใหม่ เป็น rmutp.ac.th ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2548 เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะขององค์กร ดังนี้

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จึงได้มีกฎกระทรวง จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ให้เป็นสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังแผนภูมิ โดยมีสำนักงานชั่วคราวตั้งอยู่ที่ อาคาร 1 (ตึกบ่อปลา) ชั้น 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เทเวศร์ และมีศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อีก 4 แห่ง ได้แก่ สาขาโชติเวช สาขาพณิชยการพระนคร สาขาชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และสาขาพระนครเหนือ

  1.  
    1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร Domain Name : rmutp.ac.th
    2. วิทยาเขตเทเวศร์ Domain Name : thewes.rmutp.ac.th
    3. วิทยาเขตโชติเวช Domain Name : chtwc.rmutp.ac.th
    4. วิทยาเขตพณิชยการพระนคร Domain Name : bcc.rmutp.ac.th
    5. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ Domain Name : ckus.rmutp.ac.th
    6. วิทยาเขตพระนครเหนือ Domain Name : nbk.rmutp.ac.th

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Office of Academic Resource and Information Technology) เริ่มดำเนินการจัดตั้งเป็นโครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 โดยมีนายนิวัตร จารุวาระกูล เป็นประธานโครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตั้งอยู่ที่ อาคาร 1 (ตึกบ่อปลา) ชั้น 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เทเวศร์

ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ได้มีการดำเนินการ เรื่อง โครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.พระนคร [RMUTP Net] ซึ่งประกอบไปด้วย วิทยาเขตเทเวศร์, วิทยาเขตโชติเวช, วิทยาเขตพณิชยการพระนคร, วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และวิทยาเขตพระนครเหนือ

ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2549 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร. พระนคร ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนวงจรสื่อสาร จากสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร. ธัญบุรี ไปเชื่อมต่อกับทาง สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) โดยใช้วงจรการสื่อสารของ CAT Telecom. เพื่อเชื่อมต่อกับ (UniNet) ด้วยช่องสัญญาณของมหาวิทยาลัยมีขนาด 20Mb และวงจรเชื่อมต่อของวิทยาเขตพณิชยการพระนครและวิทยาเขตพระนครเหนือ มีช่องสัญญาณขนาด 10Mb เชื่อมต่อกับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.พระนคร ที่เทเวศร์

ปรัชญา

เทคโนโลยีสร้างคุณค่า การศึกษาสร้างคน สู่สากลด้วยปัญญา

ปณิธาน

มุ่งมั่น เป็นผู้นำการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการ พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ คู่คุณธรรม สู่มาตรฐานสากล

เป้าหมายสูงสุด

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจะพัฒนาไปเป็นมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคอาเซียน (RMUTP is gearing up towards becoming a world-class Asian university)

ภารกิจหลัก
  1. เสนอแนวนโยบายและแผนการพัฒนาด้านวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ให้มีเอกภาพรวมทั้งมหาวิทยาลัย
  2. กำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดของมหาวิทยาลัย พัฒนางานด้านวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศตามภาระกิจที่รับผิดชอบ
  3. กลั่นกรองแผนงานด้านวิทยบริการและงานด้านเครือข่ายระบบสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัย เพื่อการจัดสรร งบประมาณที่เกี่ยวข้อง
  4. วางมาตรฐานและกำกับพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร เพื่อประโยชน์การเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านบุคคล งบประมาณ วิชาการ นักศึกษา ให้เป็นระบบในภาพรวมระดับ มหาวิทยาลัย
  5. บริหารจัดการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคุมดูแลอุปกรณ์ การเรียนการสอนที่ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  6. สร้างระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
  7. ให้บริการทางวิชาการในรูปการให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานต่างๆ ใน การพัฒนาระบบสารสนเทศ
  8. บริหารงานภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย
วิสัยทัศน์

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นองค์กรที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการบริการ เทคโนโลยีการศึกษาและสารสนเทศให้มีมาตรฐานสากล

พันธกิจ
  1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านการเรียน การสอน การวิจัยและการบริหาร
  2. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้าน ICT และเข้าใจการใช้ประโยชน์จาก ICT อย่างคุ้มค่าและมีคุณธรรม จริยธรรม
  3. พัฒนาระบบการศึกษา ระบบการเรียนรู้ การบริหารและการวิจัยให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพ โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือ และมุ่งเน้นให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานระดับสากล
  4. พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย โดยเน้นให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ขยายโอกาสการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อบริการชุมชน
  6. พัฒนาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศและเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การให้บริการแบบ e-Service
  7. สร้างเครือข่ายการศึกษาที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี (knowledge networking)
เป้าประสงค์หลัก
  1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และ การบริหาร
  2. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านไอซีทีเข้าใจการใช้ประโยชน์จากไอซีทีอย่างคุ้มค่าและมีคุณธรรม จริยธรรม
  3. พัฒนาระบบการศึกษา ระบบการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพโดยใช้ ไอซีทีเป็นเครื่องมือ
  4. พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย โดยเน้นให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ขยายโอกาสการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริการชุมชน
  6. พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยไปสู่ e-Knowledge
  7. พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยให้มีความมั่นคงและปลอดภัยสูง
ประเด็นยุทธศาสตร์

มิติการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อเข้าสู่การเป็น e-University นั้นมีแผนงานที่จะดำเนินการในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สมบูรณ์แบบ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนามิติต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการก้าวสู่การเป็น e-University 5 มิติดังนี้

  1. มิติของ e-Academic ประกอบด้วย การพัฒนา e-Library, e-Courseware, e-Classroom
  2. มิติของ e-MIS ประกอบด้วย การทำให้มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารงานบนพื้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์
  3. มิติของ e-Service มุ่งเป็นการบริการแบบ 24 ชม. และเข้าถึงการบริการแบบ one stop service
  4. มิติของ e-Research เพื่อตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัยในการเป็น Research University
  5. มิติของ e-Government เป็นการเชื่อมโยงระบบการบริหารงานร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนข่าวสารโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิกส์