PM กับการบวนการสร้างคุณค่า (ต่อ)

รายงานการวิเคราะห์เพื่อกำหนดกระบวนการสร้างคุณค่า

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปี 2553

การกำหนดกระบวนการสร้างคุณค่าและความเชื่อมโยง 

จากวิสัยทัศน์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นองค์กรมุ่งพัฒนาคุณภาพการบริการเทคโนโลยีการศึกษาและสารสนเทศให้มีมาตรฐานสากล  ส่งเสริมภารกิจมหาวิทยาลัยในการพัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่การเป็น e-University  ตามประเด็นยุทธศาสตร์ สอดคล้องตามแผนงานที่จะดำเนินการในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สมบูรณ์แบบโดยจะมุ่งเน้นพัฒนามิติต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการก้าวสู่การเป็น e-University 5 มิติ  คือ  (1) มิติของ e-Academic ประกอบด้วย การพัฒนา e-Library, e-Courseware, e-Classroom  (2) มิติของ e-MIS ประกอบด้วย การทำให้มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารงานบนพื้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์ (3) มิติของ e-Service มุ่งเป็นการบริการแบบ 24 ชม. และเข้าถึงการบริการแบบ one stop service (4) มิติของ e-Research เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในการเป็น Research University (5) มิติของ e-Government เป็นการเชื่อมโยงระบบการบริหารงานร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนข่าวสารโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิกส์  กอปรกับสำนักมี ภาระกิจหลัก (1) เสนอแนวนโยบายและแผนการพัฒนาด้านวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ให้มีเอกภาพรวมทั้งมหาวิทยาลัย (2) กำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดของมหาวิทยาลัย พัฒนางานด้านวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศตามภาระกิจที่รับผิดชอบ (3) กลั่นกรองแผนงานด้านวิทยบริการและงานด้านเครือข่ายระบบสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัย เพื่อการจัดสรร งบประมาณที่เกี่ยวข้อง (4) วางมาตรฐานและกำกับพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร เพื่อประโยชน์การเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านบุคคล งบประมาณ วิชาการ นักศึกษา ให้เป็นระบบในภาพรวมระดับ มหาวิทยาลัย (5) บริหารจัดการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคุมดูแลอุปกรณ์ การเรียนการสอนที่ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (6) สร้างระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ (7) ให้บริการทางวิชาการในรูปการให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานต่างๆ ใน การพัฒนาระบบสารสนเทศ  มีพันธกิจ (1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านการเรียน การสอน การวิจัยและการบริหาร (2) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้าน ICT และเข้าใจการใช้ประโยชน์จาก ICT อย่างคุ้มค่าและมีคุณธรรม จริยธรรม (3) พัฒนาระบบการศึกษา ระบบการเรียนรู้ การบริหารและการวิจัยให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพ โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือ และมุ่งเน้นให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานระดับสากล (4) พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย โดยเน้นให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ (5) ขยายโอกาสการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อบริการชุมชน (6) พัฒนาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศและเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การให้บริการแบบ e-Service (7) สร้างเครือข่ายการศึกษาที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี (knowledge networking)

แผนภาพการเชื่อมโยงกระบวนการสร้างคุณค่ากับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

กระบวนการงานวิทยบริการ   ระบบบริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

เพื่อตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์หลัก และเป็นไปตามกระบวนการสร้างคุณค่าของมหาวิทยาลัยในกิจกรรมระหว่างการจัดการเรียนการสอน งานวิทยบริการ สำนักมีหน้าที่บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยให้เข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน การให้บริการดังกล่าวเป็นไปตามพันธกิจของการพัฒนาระบบการศึกษา ระบบการเรียนรู้ การบริหารให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการควบคุมระบบการบริการศูนย์การเรียนรู้ด้วนตนเอง พัฒนาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพสู่การให้บริการแบบ e-Service ที่ผู้ใช้สามารถขอรับบริการได้โดยอัตโนมัติและเข้าถึงการบริการแบบ one stop service ตามประเด็นยุทธศาสตร์มิติที่ (3) e-Service  สามารถรายงานสถิติการใช้งานและตรวจสอบสถานะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมงตามมิติที่ (2) e-MIS มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลบุคลากร/อาจารย์ นักศึกษา ทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้เป็นเอกภาพของมหาวิทยาลัยทำให้ข้อมูลมีความเชื่อถือได้ ถูกต้องตรงกัน โดยข้อมูลบุคลากร/อาจารย์มาจากฐานข้อมูลกองบริหารทรัพยากรบุคคล ฐานข้อมูลนักศึกษามาจากระบบทะเบียน เป็นต้น มีระบบควบคุมดูแลอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรมระบบจัดการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง  อันจะสร้างเครือข่ายการศึกษาที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี (knowledge networking)  มีระบบสอบถามความพึงพอใจออนไลน์สามารถประมวลผลความพึงพอใจผู้บริการได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ให้มีความพร้อมในการใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการที่ต้องการความรวดเร็วในการขอใช้บริการ สะดวก ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ผู้รับบริการสามารถตรวจสอบสถานะของเครื่องว่างที่จะเข้าไปใช้ได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องไปเข้าแถวเพื่อรอคอย

<< หน้าก่อนนี้ | หน้าถัดไป >>